‘อนาธิปไตย’ ไม่ใช่ประชาธิปไตย และเลวร้ายกว่าเผด็จการ
“ระบอบประชาธิปไตยนั้น เราหมายถึงประชาธิปไตยอันมีระเบียบตามกฎหมายและศีลธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช่ประชาธิปไตยอันไม่มีระเบียบ หรือประชาธิปไตยที่ไร้ศีลธรรม เช่น การใช้เสรีภาพอันมีแต่จะให้เกิดความปั่นป่วน ความไม่สงบเรียบร้อย ความเสื่อมศีลธรรม ระบอบเช่นนี้เรียกว่า อนาธิปไตย หาใช่ประชาธิปไตยไม่ ขอให้ระวังอย่าปนประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย อนาธิปไตยเป็นภัยใหญ่หลวงแก่สังคมและประเทศชาติ”
นี่คือคำกล่าวของ ปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นมันสมองของคณะราษฎร ที่ได้กล่าวไว้ในวันปิดประชุมสภาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2489 ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าเขาไม่เคยสนับสนุน ซ้ำยังจงเกลียดจงชังลัทธิอนาธิปไตยอย่างชนิดไม่เผาผี
แม้แต่บิดาแห่งคนเท่ากันและเสรีนิยมอย่าง โทมัส ฮอบส์ ก็เห็นเช่นเดียวกัน ทฤษฎีสัญญาประชาคมของฮอบส์นั้น ระบุแนวทางไว้ว่า มนุษย์ตกลงอยู่ร่วมกันในสังคม ทำให้เขาย่อมอยู่ภายใต้กฎระเบียบของสังคม หากแต่การกระทำใด “ที่มิได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือไปเบียดเบียนความสงบหรือสิทธิของผู้อื่น” การกระทำนั้นก็ย่อมสามารถกระทำได้ นี่คือหัวใจและแก่นแกนอันสำคัญที่สุดของเสรีนิยมประชาธิปไตยในปัจจุบัน
ซึ่งแน่นอนว่าแตกต่างอย่างสุดขั้วกับ ‘อนาธิปไตย’ ที่มีแต่ความไร้ระเบียบทางสังคม ไร้กฎเกณฑ์ ใครอยากทำอะไรก็ได้ตามใจนึก ไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรมหรือความยุติธรรมใดๆ
หรือแม้แต่โลกของคอมมิวนิสต์นั้น เหล่าคอมมิวนิสต์แท้ๆ ต่างก็มองว่าการกระทำอันเป็นอนาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายรัฐของชนชั้นกรรมาชีพ ทำให้จัดตั้งเสียวินัย เสี่ยงต่อลัทธิฉวยโอกาส จึงมีบทลงโทษถึงตาย ทั้ง คาร์ล มาร์กซ, เลนิน, โจเซฟ สตาลิน, เหมา เจ๋อ ตง ผู้นำคอมมิวนิสต์เหล่านี้ทุกคนล้วนแล้วแต่ต่อต้านลัทธิอนาธิปไตยอย่างเอาเป็นเอาตายแทบทั้งสิ้นในโลกคอมมิวนิสต์ ข้อหาอนาธิปไตยคือข้อหาฉกรรจ์ถึงตาย
สรุปได้ว่า ‘อนาธิปไตย’ นั้น ไม่ใช่ประชาธิปไตย ซ้ำยังเลวร้ายยิ่งกว่าเผด็จการ
ฉะนั้น ม็อบไหนหรือกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายใดที่อ้างว่าเรียกร้องประชาธิปไตย แต่กลับเอาสัญลักษณ์อนาธิปไตยมาใช้ในการประท้วง แถมยังชูประเด็นมั่วๆ เบียวๆ จับโน่นมารวมนี่จนมั่วไปหมด ก็ขอให้เลือกเอาสักทางว่าจะเป็นอะไรกันแน่ ระหว่าง ‘ประชาธิปไตย’ หรือ ‘อนาธิปไตย’
แต่ที่แน่ๆ ความมั่วเหล่านี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า พวกจัดตั้งหรือกุนซือผู้อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนกลุ่มนี้ เป็นพวกอ่อนด้อยความรู้ทางการเมืองพื้นฐานอย่างแน่นอน
แค่การแสดงออกทางการเมืองด้วยสัญลักษณ์พื้นฐาน ยังมั่วกันได้ขนาดนี้ แล้วหากในอนาคตคนพวกนี้เกิดได้อำนาจรัฐ หรือกลายมาเป็นนักการเมืองปากเสียงของประชาชนขึ้นมาจริงๆ ก็ไม่อยากคิดเหมือนกันว่าบ้านเมืองของเราจะเละตุ้มเป๊ะขนาดไหน
ความหมายที่แท้จริงของอนาธิปไตยคืออะไร ? ทั้งโทมัส ฮอบส์ และปรีดี พนมยงค์ กล่าวถึงสิ่งนี้ไว้ว่าอย่างไร ? ศึกษาเรื่องราวทั้งหมดได้ในคลิปวิดีโอนี้