“ห้ามชันสูตรพระศพ เพราะกฎมณเฑียรบาลห้ามแตะพระวรกาย” คำกล่าวอ้างของปรีดีที่เลื่อนลอยและไร้เหตุผล

คำให้การของ พ.ต.นายแพทย์นิตย์ เวชวิศิษฐ์ ที่ได้ให้การต่อหน้าคณะกรรมการฝ่ายแพทย์ ตามบันทึกการประชุมคณะกรรมการฝ่านแพทย์ ครั้งที่ 4 วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2489 เวลา 9.20 น. ห้องประชุมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศาลาแดง

“นายแพทย์ใช้ฯ ยูนิพันธ์ : เหตุใดจึงไม่ตรวจชันสูตรพระบรมศพ

พ.ต.นิตย์ฯ : ทราบจากท่านนายกรัฐมนตรีว่า ไม่เป็นที่ต้องพระประสงค์ของเจ้านายบางพระองค์ อีกทั้งเป็นพระมหากษัตริย์…..”

คำให้การของ นายแพทย์นิตย์ฯ นี้ สอดคล้องกับความต้องการของ นายกรัฐมนตรีปรีดีฯ ที่ได้แถลงไว้ต่อสภาฯ หลายต่อหลายครั้งว่าที่ไม่ต้องการให้ชันสูตรพระบรมศพนั้น เป็นเพราะกฎมณเฑียรบาล สมัยโบราณ ที่กำหนดไว้ว่า “ห้ามแตะต้องพระวรกายพระมหากษัตริย์”

ซึ่งเท่าที่ตรวจสอบ กฎมณเฑียรบาลดังกล่าวนั้น “ไม่มีอยู่จริง” ถ้าจะพอมีอยู่บ้าง ก็จะมีเพียงกฎมณเฑียรบาลที่ว่า “ห้ามแตะต้องพระวรกายของพระมเหสี” เท่านั้น

โดยกฎมณเฑียรบาลเรื่อง “ห้ามแตะต้องพระวรกายพระมเหสี” นี้ ถูกพูดถึง จากกรณี “พระนางเรือล่ม” (สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี) ในรัชสมัยของในหลวงจุฬาลงกรณ์ ที่ทรงทิวงคตด้วยอุบัติเหตุทางเรือ แต่ไม่มีผู้ใดเข้ากล้าเข้าช่วยเหลือ ด้วยเกรงผิดกฎมณเฑียรบาล

ที่นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนแปลงอันสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้น เป็นเหตุให้ข้อกำหนดส่วนใหญ่ในกฎมณเฑียรบาลฉบับกรุงศรีอยุธยาไม่อาจใช้บังคับได้ต่อไป

เกี่ยวกับพระราชประเพณีนี้ดูจะเป็นเรื่องแปลก เพราะการแถลงในรัฐสภาฯ นายปรีดีฯ แถลงอยู่หลายครั้งว่า ชันสูตรพระบรมศพโดยละเอียดไม่ได้ เพราะขัดกับพระราชประเพณี

กรณีเช่นนี้ถ้ามีพระราชประเพณีห้ามไว้จริง ก็น่าจะละเมิดได้ เพราะเป็นเรื่องสำคัญจำเป็น แต่ในทางตรงกันข้าม ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสำนักพระราชวังเช่น นายเฉลียวฯ ได้ปฏิบัติการละเมิดพระราชประเพณีอยู่เป็นอาจิณ โดยไม่รู้ตัว ไม่แก้ไข ไม่เห็นเป็นเรื่องผิด

เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่บนพระที่นั่งบรมพิมาน นายเฉลียวฯ ก็ขับรถผ่านหน้าพระที่นั่งเข้าไปยังที่ทำงานของตน ซึ่งอยู่ในตึกใกล้พระที่นั่ง

บางครั้งนายเฉลียวฯ ก็มีการเลี้ยงสุราในห้องทำงานซึ่งอยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่ง หรือไม่ก็เปิดวิทยุให้ดังไปถึงพระที่นั่ง การปฏิบัติหน้าที่บางคราวก็ไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดินสูบบุหรี่ใส่แว่นตาดำขึ้นไปเฝ้าบนพระที่นั่ง ทิ้งก้นบุหรี่เรี่ยราดลงบนพรม จนผู้อื่นต้องตามเก็บ เพราะเกรงว่าจะเกิดเพลิงไหม้ แม้แต่เอารถยนต์พระที่นั่งไปให้นายปรีดีฯใช้ จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่มีรถใช้ ก็เกิดขึ้นมาแล้ว

นายปรีดีฯ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการสำนักพระราชวังโดยตำแหน่ง ก็ไม่ปรากฎว่าได้ว่ากล่าวตักเตือนในความประพฤติของนายเฉลียวฯ แต่อย่างใด

แม้แต่คำให้การของนายฉลาดฯ ที่ให้การเป็นพยานต่อศาลกลางเมือง ก็ถูกบิดเบือนโดยกรมโฆษณาการ ที่เอามาสรุปความเอาใหม่ และเผยแพร่อย่างผิดความหมายในสาระสำคัญ

นอกจากนั้น การประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2489 หลังจากการที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายเสร็จแล้ว สมาชิกรัฐสภาได้มีการซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับกรณีสวรรคต

โดยรัฐบาลมีการตอบข้อซักถามอย่างหนักแน่น แต่บิดเบือนในข้อเท็จจริง กล่าวคือ มีการอ้างพระราชกระแสของพระอนุชา ในคืนวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ว่า “ทรงเชื่อว่าเป็น เอ็กซิเด็น”

ซึ่งตรงกันข้าม กับบันทึกการเข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชดำรัสของพระราชชนนี ของคณะกรรมการสอบสวนพฤติการณ์ การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล วันที่ 26 กรกฎาคม 2489

ซึ่งพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ ประธานศาลฎีกา ในฐานะประธานกรรมการฯ ได้มีการขอพระราชทานพระราชกระแสว่า

ประธานฯ : ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้พระราชทานคำตอบแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจมาบ้างแล้ว ในคำถามอันนี้ ดูเหมือนว่ายังมีที่สงสัยอยู่ จึงขอกราบบังคมทูลเพื่อทราบความชัดเจนในเรื่องสาเหตุแห่งการสวรรคตนี้ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้เคยพระราชทานพระราชกระแส แก่หลวงนิตย์ฯ หรือแก่บุคคลอื่นใดเป็นประการใดบ้างหรือไม่

พระราชกระแสฯ : ก็เคยบอกว่า อาจจะเป็นนี่เป็นนั่นเพราะไม่ทราบแน่ และก็ไม่ได้บอกว่าเป็นนี่แน่ เป็นอุปัทวเหตุหรือเป็นอะไรแน่ ฉันบอกว่าอาจจะเป็นอุปัทวเหตุ จริงๆแล้วฉันนึกว่าเขาพิสูจน์ไปตรวจได้เต็มที่ แล้วก็อาจจะเป็นได้ แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นแน่

จะเห็นได้ว่า มีการพยายามขัดขวางการชันสูตรพระบรมศพ ไม่ว่าจะเป็นการอ้างพระราชประเพณีก็ดี การตั้งธงชี้นำโดยรัฐบาล ว่าการสวรรคตของล้นเกล้าล้นกระหม่อมนั้น เป็นไปโดยอุปัทวเหตุก็ดี หรือแม้แต่การจงใจบิดเบือนพระราชกระแสของพระอนุชา เพื่อแถลงในสภาฯ เพื่อชี้นำไปยังธงที่รัฐบาลตั้งไว้ว่าเป็นการสวรรคตโดยอุบัติเหตุก็ดี

การบิดเบือนพระราชกระแสนี้ เป็นเหตุผล และตัวอย่างชั้นดีว่า การที่นายกรัฐมนตรีปรีดีฯ บอกแก่หลวงนิตย์ว่า “ไม่ต้องชันสูตรพระบรมศพ เพราะเป็นพระมหากษัตริย์นั้น เลื่อนลอยไม่น่าเชื่อถือ” ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง ไม่มีเจ้านายพระองค์ไหน กล่าวเช่นนั้น

แม้แต่กรมขุนชัยนาทฯ ที่ให้การไว้ว่า “ได้ทรงห้ามพระรามอินทรา ไม่ให้แยงบาดแผลตรวจดูว่ามีกระสุนฝังอยู่หรือไม่ เพราะเห็นว่าน่าเกลียด” และเนื่องจากพระรามอินทราเป็นตำรวจ ไม่ใช่แพทย์ผู้มีหน้าที่ชันสูตร

แต่กรมขุนชัยนาทฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ไม่ได้คัดค้าน หรือห้ามการสืบสวนสอบสวนตามกฎหมาย โดยอ้างว่าขัดกับพระราชประเพณีแต่อย่างใดเลย

ถึงแม้ในที่สุดแล้ว จะปรากฎหลักฐานว่ามีเจ้านายพระองค์ไหนกล่าวห้ามชันสูตรพระบรมศพโดยอ้างพระราชประเพณีเช่นนั้นก็ตาม

แต่การละเมิดพระราชประเพณี เพื่อสืบหาตัวคนร้ายที่ปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ก็ย่อมทำได้ เพราะเป็นไปตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งถือเป็นกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย ย่อมมีศักดิ์คุณค่าบังคับได้มากกว่ากฎมณเฑียรบาล

ขนาดนายเฉลียวฯ ผู้ใต้บังคับบัญชา นายกรัฐมนตรีปรีดีฯ โดยตรง ละเมิดพระราชประเพณีครั้งแล้วครั้งเล่า นายกรัฐมนตรีปรีดีฯ ยังไม่ถือเป็นเรื่องใหญ่โตอะไร

เหตุผลที่สนับสนุนข้ออ้างของนายกรัฐมนตรีปรีดีฯ ที่ว่าด้วย “การห้ามแตะต้องพระวรกายพระมหากษัตริย์” ดังกล่าวนี้ จึงเป็นเหตุผลที่เหลวไหลโดยสิ้นเชิง

น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งว่า ในตอนต้นของหนังสือต้องห้าม “กงจักรปีศาจ” นั้น มิสเตอร์กรูเกอร์ ได้มีการอ้างกฎมณเฑียรบาลในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ว่า การบรรทมของพระองค์นั้น ไม่มีใครกล้าปลุก เพราะไม่มีใครสามารถแตะต้องพระวรกายของพระมหากษัตริย์ได้ ถือเป็นกฎมณเฑียรบาลอย่างเด็ดขาด

ซึ่งถือเป็นการชี้นำ และตรงกัน กับการพยายามขัดขวางการชันสูตรพระบรมศพ เพื่อชี้นำว่าเป็นอุบัติเหตุ หรือการปลงพระชนม์เอง โดยนายกรัฐมนตรีปรีดีฯ อย่างน่าประหลาดใจ

คำถามที่น่าสนใจคือ ประเทศอังกฤษ นายกรัฐมนตรีปรีดีฯ หัวหน้าเสรีไทยสายอังกฤษ หนังสือกงจักรปีศาจ เกี่ยวข้องกันหรือไม่ แค่ไหน อย่างไร

ที่มา :

[1] บันทึกการประชุมคณะกรรมการฝ่านแพทย์ ครั้งที่ 4 วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2489 เวลา 9.20 น. ห้องประชุมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศาลาแดง
[2] รายงานการประชุมสภาฯ วันที่ 11 มิถุนายน 2489
[3] บันทึกการเข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชดำรัสของพระราชชนนี ของคณะกรรมการสอบสวนพฤติการณ์ การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล วันที่ 26 กรกฎาคม 2489

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า