สิทธิบัตรฝนหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงคิดค้น มิได้ลอกเลียนต่างชาติ

สิทธิบัตรนี้ เราคิดเอง คนไทยทำเอง เป็นของคนไทย มิใช่เพื่อพระเจ้าอยู่หัว ทำฝนนี้ทำสำหรับชาวบ้าน สำหรับประชาชน ไม่ใช่ทำสำหรับพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวอยากได้น้ำ ก็ไปเปิดก๊อกเอาน้ำมาใช้ อยากได้น้ำสำหรับการเพาะปลูก ก็ไปสูบจากน้ำคลองชลประทานได้ แต่ชาวบ้านชาวนา ที่ไม่มีโอกาสมีน้ำสำหรับเกษตร ก็ต้องอาศัยฝน ฝนไม่มีก็ต้องอาศัยฝนหลวง

พระราชดำรัสข้างต้นแสดงถึงที่มาของการประดิษฐ์คิดค้นฝนเทียม จากพระเมตตาของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จเห็นประชาชนประสบปัญหาอากาศอันแห้งแล้งในภาคอีสาน เมื่อปี พ.ศ. 2498 ทรงพยายามคิดค้นและพัฒนาวิธีการจากแนวคิดที่ว่า “ทำอย่างไรจะรวมเมฆให้เกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นที่แห้งแล้ง” และนี่คือ ที่มาของ “โครงการฝนหลวง” ในปัจจุบัน

แต่ “โครงการฝนหลวง” กลับถูกมองและกล่าวหาจากคนบางกลุ่มว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงลอกเลียนมาจากนักประดิษฐ์ต่างชาติ เป็นการกล่าวหาด้วยอคติ และไม่สนใจค้นหาข้อมูลว่า แท้จริงแล้ว “ฝนเทียม” ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงคิดค้นขึ้นนั้น มีความแตกต่างจากนักประดิษฐ์ต่างชาติอย่างไร

ที่มาของฝนเทียม

ฝนเทียมของนักประดิษฐ์ต่างชาติ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) โดยนาย วินเซนต์ เชฟเฟอร์ และ เออร์วิง ลองมัวร์ ซึ่งใช้ส่วนประกอบหลักในการสร้างฝนเทียมคือสาร Silver Iodide ที่มีคุณสมบัติทำให้เมฆมีความเย็นเหนือจุดเยือกแข็ง

วิธีการคือ โปรยสารนี้ลงมาจากเครื่องบินหรือปล่อยให้ลมหอบขึ้นไป ซึ่ง Silver Iodide จะทำให้ไอน้ำเกิดการควบแน่น และหนักมากพอจนตกลงมาเป็นฝน ดังนั้นหลักสำคัญของวิธีการนี้คือ “ปล่อยให้ลมหอบอนุภาคขึ้นไป” หรือ “ปล่อยอนุภาคลงมา” นั่นเอง

ซึ่งวิธีการนี้ “ไม่เหมือน” กับฝนหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

ในระหว่างที่เสด็จเยือนภาคอีสานเมื่อปี พ.ศ. 2489 จากปัญหาความแห้งแล้งในภูมิภาค พระองค์ได้ทรงเริ่มทดลองการสร้าง “ฝนเทียม” ด้วยพระองค์เอง โดยแยกวิธีการเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน

เป็นการดัดแปรสภาพอากาศขณะนั้น เพื่อเร่งหรือเสริมการเกิดและรวมตัวของเมฆ ด้วยการก่อกวนสมดุล หรือเสถียรภาพของมวลอากาศเป็นแห่ง ๆ

ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน

เป็นการดัดแปรสภาพอากาศและเมฆขณะนั้น เพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัวของเมฆ ให้มีขนาดใหญ่และหนาแน่นยิ่งขึ้น ด้วยการกระตุ้นการเติบโตของก้อนเมฆที่ก่อตัว แล้วเร่งให้มีขนาดใหญ่ขึ้นทั้งฐานเมฆและยอดเมฆ รวมถึงกระตุ้นขนาดหยดน้ำให้มีขนาดใหญ่ และเพิ่มปริมาณน้ำในก้อนเมฆให้มากขึ้น จนมีความหนาแน่นเร็วกว่าขั้นตอนตามธรรมชาติ

ขั้นตอนที่ 3 โจมตี

เป็นการดัดแปรสภาพอากาศในก้อนเมฆที่รวมตัวหนาแน่นแล้วโดยตรง ขั้นตอนนี้เป็นการบังคับหรือเหนี่ยวนำให้เมฆที่แก่ตัวจัด ตกเป็นฝนลงสู่พื้นที่เป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยใช้เครื่องบิน 2 เครื่อง ดำเนินการในขั้นตอนนี้ไปพร้อม ๆ กันแบบ “แซนด์วิช” (Sandwich)

สำหรับนวัตกรรมฝนหลวงที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกนี้ มีชื่อพระราชทานเรียกว่าเทคนิค “Super Sandwich” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพัฒนาวิธีโจมตี “เมฆอุ่น” (ส่วนของเมฆตั้งแต่ระดับฐานไปจนถึงประมาณ 18,000 ฟุต) และ “เมฆเย็น” (ส่วนของเมฆตั้งแต่ระดับประมาณ 18,000 ฟุตขึ้นไป) โดยกระทำไปพร้อม ๆ กันในกลุ่มเมฆเป้าหมายทั้งด้านบนและด้านล่าง ซึ่ง Super Sandwich นี้เอง คือกรรมวิธีสำคัญที่ทำให้การสร้างฝนเทียมมีประสิทธิภาพ มากกว่าการโปรยแค่สารเคมีอย่างเดียว

กรรมวิธีนี้เอง ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการได้มาซึ่งสิทธิบัตร ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 5 เนื่องจากเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น และเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม

เทคนิคการทำฝนเทียมของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้รับการเผยแพร่และเป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์ องค์กรและสถาบันการดัดแปรสภาพอากาศวิทยาศาสตร์และอุตุนิยมวิทยา ทั้งในระดับนานาชาติและระดับโลก อีกทั้งได้ร่วมจัดแสดงในงานนิทรรศการ Brussels Eureka 2001 ด้วย

อนึ่ง การยื่นคำขอจดสิทธิบัตรต่อสำนักงานสิทธิบัตร ทั้งในและต่างประเทศ จะต้องมีกระบวนการตรวจสอบ และค้นหากับสำนักงานสิทธิบัตรทั่วโลก ว่ามีการซ้ำซ้อนหรือมีการจดสิทธิบัตรมาก่อนหรือไม่ และต้องเป็นนวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่

เพราะฉะนั้น สิทธิบัตรที่ได้รับจากสำนักงานสิทธิบัตรต่างประเทศ จึงได้รับการกลั่นกรองและประกาศเป็นที่รับรู้ของสำนักงานสิทธิบัตรทั่วโลกโดยปริยาย

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 พระองค์ท่านได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตร “ฝนหลวง” โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา และในต่างประเทศโดยสำนักสิทธิบัตรยุโรป (EPO) หมายเลข EP1491088 อีกทั้งสิทธิบัตรในฮ่องกงและของประเทศอื่น ๆ อีกด้วย

โดยสรุป “ฝนหลวง” คือการคิดค้นและพัฒนากรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎรจากปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้ง กระทั่งได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตร จากทั้งในและต่างประเทศ เป็นสิ่งยืนยันว่าพระองค์ท่านได้ทรงคิดค้น “ฝนหลวง” ขึ้นเอง โดยไม่ได้ลอกเลียนผู้ใดตามคำกล่าวหา

ที่มา :

[1] EP1491088A1 Weather modification by royal rainmaking technology
[2] เอกสารแนบ การประดิษฐ์ และประกาศคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ฝนเทียม
[2.1] Document 1
[2.2] Document 2
[2.3] Document 3
[2.4] Document 4

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า