‘สถาบันพระมหากษัตริย์ เหมาะสมกับประชาธิปไตยสมัยใหม่’ : Tom Ginsburg

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดงานเสวนาสาธารณะในหัวข้อ “บทบาทตุลาการกับการธำรงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้ยั่งยืน” โดยมีศาสตราจารย์ ทอม กินส์เบิร์ก (Tom Ginsburg) ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์แห่ง University of Chicago เป็นผู้นำการบรรยายหัวข้อ “How to Save Thailand’s Constitutional Democracy”

การบรรยายของ กินส์เบิร์ก ถูกเผยแพร่ในหลายเว็บไซต์ ขณะที่บางเว็บก็แนบเนื้อหาไปพร้อมกับพาดหัวล่อเป้าว่า “ถ้าสถาบันกษัตริย์ไม่ยอมปรับตัว ทางเดียวที่เหลือคือการหายไป” ซึ่งจริง ๆ แล้วเนื้อหาการบรรยายของ กินส์เบิร์ก นั้นไม่เกี่ยวข้องและไม่ได้มีความหมายไปในทางชี้นำ เหมือนกับพาดหัวที่พยายามเรียกแขกเหล่านั้นเลย

กินส์เบิร์ก ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับนิยาม การดำรงอยู่ และการปรับตัวที่จะนำไปสู่หนทางแห่งอนาคตของระบอบกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงอธิบายเรื่องความสอดคล้องกันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งนำไปสู่การยืนยันว่า “ทำไมถึงยังต้องมีสถาบันกษัตริย์”

ระบอบกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) คือระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีรัฐธรรมนูญกำกับไว้ นั่นคือพระมหากษัตริย์จะมีพระราชอำนาจในขอบเขตที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ และจะไม่เข้ามาก้าวก่ายทางการเมือง ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่ถือได้ว่ามีความมั่นคงสูง และปัจจุบันมีถึง 43 ประเทศในโลก หรือคิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ที่มีการปกครองระบอบนี้ รวมถึงประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูง เช่น ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย

สำหรับที่มาของระบอบกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ คงต้องย้อนกลับไปที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 19 จากกระบวนการต่อรองทางอำนาจระหว่างรัฐสภากับสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้กษัตริย์ในยุโรปเริ่มมีการถ่ายโอนพระราชอำนาจไปสู่รัฐสภาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ไม่มีการปรับตัวของสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบสาธารณรัฐในที่สุด ซึ่งกินส์เบิร์ก ได้ยกตัวอย่างกรณีของหลายประเทศในตะวันออกกลาง และการล่มสลายของประชาธิปไตยในลาว ที่เกิดจากการปฏิวัติ หรือแม้แต่ประเทศเนปาล ซึ่งเกิดจากปัญหาภายในราชวงศ์ที่กษัตริย์พยายามรักษาอำนาจแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เอาไว้

ในส่วนของประเด็นซึ่งถือว่าสำคัญที่สุดคือ การดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ กินส์เบิร์ก ยืนยันชัดเจนว่า กษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญเหมาะสมและเข้ากันได้ดีกับระบอบประชาธิปไตย และในประเด็นที่ว่า ทำไมถึงยังต้องมีสถาบันกษัตริย์ เขาเห็นว่า พระมหากษัตริย์จะยังคงมีบทบาทสำคัญในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เพราะว่าพระมหากษัตริย์จะช่วยคานอำนาจของผู้นำรัฐบาลที่ผูกขาดและครอบงำระบบการเมืองของประเทศ ซึ่งในอนาคตผู้นำเหล่านี้จะกลายเป็นผู้ที่ทำลายระบอบประชาธิปไตยลง โดยกินส์เบิร์ก ได้ยกตัวอย่างกรณีของผู้นำที่ผูกขาดอำนาจทางการเมือง เช่น อูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา, วิกเตอร์ ออร์บาน แห่งฮังการี รวมถึงทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย

และอีกเหตุผลสำคัญคือ พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติของประเทศ ซึ่งกินส์เบิร์กย้ำว่านี่คือสิ่งที่จำเป็นมาก เห็นได้ชัดจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงออกมายุติความขัดแย้ง ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทยที่ชี้ให้เห็นว่า ถ้าไม่มีพระมหากษัตริย์ ความรุนแรงอาจลุกลามและนำไปสู่สงครามกลางเมืองได้ ซึ่งพระองค์ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์และนำพาประเทศผ่านช่วงเวลาเหล่านั้นไปได้

กินส์เบิร์กย้ำในตอนท้ายว่า รัฐธรรมนูญจะเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่ เมื่อประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญยังดำเนินต่อไปได้ สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะดำรงอยู่เคียงคู่กันไป ซึ่งหัวใจสำคัญของประชาธิปไตยคือ ทุกสถาบันในสังคมต้องปฏิบัติตามหลักนิติธรรมและรัฐธรรมนูญ รวมถึงการมีเสรีภาพในสังคมด้วย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกอย่างสันติ สิ่งเหล่านี้คือแก่นแท้ของประชาธิปไตย ซึ่งจะนำไปสู่การดำรงอยู่ของระบอบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ

นี่คือประเด็นสำคัญในการบรรยายของทอม กินส์เบิร์ก ที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตย และถ้าพูดถึงประเด็นสำคัญในเรื่องของสิทธิเสรีภาพกับการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ระบอบกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญดำรงอยู่ต่อไปได้ในมุมมองของกินส์เบิร์ก ก็อยากจะเสริมเพิ่มเติมว่า การวิพากษ์วิจารณ์นั้นเป็นสิ่งที่ควรมี แต่จะต้องเป็นการวิจารณ์ที่สร้างสรรค์ อยู่บนความสุภาพ และเคารพให้เกียรติต่อกัน การวิพากษ์วิจารณ์แบบนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมร่วมกัน ต่างจากการวิจารณ์ที่มีแต่คำกล่าวหา ด่าทอหยาบคาย ที่แสดงเจตนาถึงการล้มล้าง มากกว่าสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการวิจารณ์ที่ “ไม่เคย” และ “ไม่มีวัน” พาเราก้าวไปสู่จุดไหนเลย

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า