รัชกาลที่ 7 สั่งตัดหัวคณะราษฎร นิทานหลอกเด็กที่ไม่มีใครเชื่อ

มีการสร้างคำโกหกพกลมชนิดที่ว่า เป็นการทำลายพระเกียรติของพระมหากษัตริย์อย่างร้ายแรงที่สุด จากบทความที่เขียนโดยนาย จิตตะเสน ปัญจะ ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกและครั้งเดียวในนิตยสาร “ปาจารยสาร” ฉบับเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม พ.ศ. 2542

โดยกล่าวหาว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มีพระบรมราชโองการให้ “ตัดหัว” บรรดาคณะราษฎรในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476 หรือ 1 ปีหลังเหตุการณ์ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ซึ่งเรื่องนี้ ไม่ว่าจะมองในแง่มุมไหน ก็ไม่ต่างจากนิทานหลอกเด็กที่ไม่น่าจะมีคนหลงเชื่อ แต่กลับมีนักวิชาการเลี้ยงแกะ บางคน นำบทความดังกล่าวมาอ้างประกอบงานเขียนทางวิชาการของตน จนไม่เหลือความน่าเชื่อถือใด ๆ เลย

คำโกหกพกลม

มีข่าวลือที่ถูกกุขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งบรรดานักประวัติศาสตร์ รวมถึงนักวิชาการกระแสหลัก ไม่เคยทราบหรือได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย เหตุเพราะนี่คือบทความที่ถูกปั้นแต่งขึ้นใหม่โดยนาย จิตตะเสน ปัญจะ ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกและครั้งเดียวในนิตยสาร “ปาจารยสาร” ฉบับเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม พ.ศ. 2542

ซึ่งภูมิหลังของนาย จิตตะเสน ปัญจะ คือหนึ่งในกลุ่มคณะราษฎรสายพลเรือน ช่วงเหตุการณ์ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และเคยรับหน้าที่เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในช่วงปี พ.ศ. 2486 ด้วย

เขาอ้างว่า บันทึกนี้เป็นเรื่องจริงที่ไม่เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน โดยได้กล่าวหาว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มีพระบรมราชโองการให้ “ตัดหัว” บรรดาคณะราษฎรในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476 หรือ 1 ปีหลังเหตุการณ์ปฏิวัติ ดังบันทึกที่เขียนโดยนาย จิตตะเสน ความว่า

“ พระปกเกล้าฯ สั่งประหารชีวิตผู้ก่อการฯ คณะราษฎร์ ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2476 อันเป็นวันครบปี โดยได้ร่วมมือกับพระยามะโนฯ … ผู้ซึ่งคณะก่อการฯ ได้ตั้งให้เป็นนายกฯ ใช้วิธีหลอกลวงให้พระยาพหลฯ พระยาทรงฯ ลาออกจากหน้าที่ผู้บัญชาการ และรองผู้บัญชาการคุมอำนาจทางทหารได้สำเร็จ

พระยามะโนฯ หลอกพระยาทรงฯ ว่า ให้ชวนพระยาพหลฯ ลาออก แล้วจะกลับมาตั้งพระยาทรงฯ ให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกแทนพระยาพหลฯ เป็นแผนการทำให้พระยาพหลฯแตกแยกกันกับพระยาทรงฯ … พระยามะโนฯ ใช้เค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ทำพระยาทรงฯ แตกกับหลวงประดิษฐ์ มาแล้วครั้งหนึ่งสำเร็จ คราวนี้ทำให้พระยาพหลฯ แตกกับพระยาทรงฯ สั่งปิดสภาฯ งดใช้รัฐธรรมนูญในเดือนเมษายน 2476 หากแต่คณะผู้ก่อการฯ ได้นำการยึดอำนาจไล่พระยามะโนฯ ออกจากนายกฯ ในวันที่ 20 มิถุนายน 2476 ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ สั่งตัดหัวคณะก่อการฯ เพียง 4 วันเท่านั้น

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และพระยามะโนฯ ได้ใช้หลักฐานลายเซ็นนี้ไปประกาศพระบรมราชโองการ ที่ได้สั่งให้อาลักษณ์เขียนด้วยลายมือบรรจง ตามพระราชประเพณีของพระบรมราชโองการในสมัยอยู่เหนือกฎหมาย สั่งตัดหัวประหารชีวิต

ซึ่งบังเอิญในขณะที่อาลักษณ์เขียนรายชื่ออยู่นี้ ผู้บันทึกทำงานอยู่ในห้องเดียวกับเขา เขาเห็นมีชื่อนายจิตตะเสน ปัญจะ อยู่ในพระบรมราชโองการ … ก็ตกใจเมื่อรู้ว่าผู้บันทึกจะต้องถูกตัดหัวประหารชีวิต … อาลักษณ์จึงเอาพระบรมราชโองการมาให้ผู้บันทึกดู … ผู้บันทึกขอขอบใจอาลักษณ์ผู้เขียนพระบรมราชโองการที่ได้นำเรื่องนี้มาให้ผู้บันทึกดู ได้รู้ถึงการคิดร้ายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และพระยามะโนฯ เสียก่อน

คณะก่อการฯ จึงทำการยึดอำนาจอีกครั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2476 มิฉะนั้น คณะก่อการฯ ที่ไปขอขมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็คงถูกตัดหัว และวงศ์จักรีจะกลับยึดอำนาจกลับเป็นกษัตริย์เหนือกฎหมายอย่างเดิมได้สำเร็จแน่ ”

โดยบทความข้างต้นนี้ ได้แนบท้ายคำประกาศพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประหารชีวิตบรรดาคณะราษฎร ฐานเป็นขบถต่อราชวงศ์จักรี โดยให้นำไปตัดหัวที่ท้องสนามหลวง ในรุ่งอรุณของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476 แล้วให้เอาศีรษะเสียบประจานไว้ที่ท้องสนามหลวง 7 วัน เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป

ปาจารยสาร ฉบับที่ 1 ปีที่ 26 กรกฎาคม – ตุลาคม.

ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน

  1. นายจิตตะเสน อ้างว่าเขาได้หลักฐานนี้มาจากบุคคลผู้หนึ่งที่ไปขอ “คัดสำเนาพระบรมราชโองการของพระปกเกล้าฯ จากพนักงานอาลักษณ์” ซึ่งเรื่องนี้ฟังดูแล้วเหลือเชื่อมาก เพราะเป็นการกล่าวถึงบุคคลที่ 3 ถึงสองตลบ ทำให้มีบุคคลที่เห็นพระบรมราชโองการ (ซึ่งควรเป็นความลับสุดยอด) นี้ ถึงสามคนคือ นายจิตตะเสน, บุคคลที่ไปขอคัดสำเนา และพนักงานอาลักษณ์
  2. หากพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตา และทรงอภัยโทษให้แก่คณะราษฎร ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หรือ 2 วัน หลังจากทรงยอมรับเป็นพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแล้ว ดังนั้น การกล่าวหาว่า ในหลวง รัชกาลที่ 7 ต้องการคิดร้ายถึงขั้นเอาชีวิตต่อคณะราษฎร จึงเป็นการใส่ร้ายอย่างรุนแรง
  3. เป็นที่น่าสังเกตว่า บรรดารายชื่อผู้ต้องโทษประหารตามที่นาย จิตตะเสน กล่าวอ้างนั้น มีหลายคนที่ต่อมาได้ปรับความเข้าใจ และสามารถทำงานร่วมกับราชสำนักสยามได้เป็นอย่างดี เช่น พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระประศาสน์พิทยายุทธ และ พระยาฤทธิอัคเนย์ จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่ในหลวง รัชกาลที่ 7 จะต้องสั่งประหารบุคคลเหล่านี้
  4. การประหารชีวิตโดยการตัดหัวปักไว้ที่สนามหลวง เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นสนามหลวงยิ่งเป็นไม่ได้ เพราะเป็นที่สงวนสำหรับงานพิธีในราชสำนักและราชวงศ์เท่านั้น การประหารตัดหัวไพร่แล้วนำมาปักในสนามหลวง จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในโบราณราชประเพณี
  5. หลังการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์มิได้ทรงมีพระราชอำนาจเหมือนในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ในหลวง รัชกาลที่ 7 จะมีพระบรมราชโองการให้ “ตัดหัว” บรรดาคณะราษฎร ดังที่นายจิตตะเสน กล่าวอ้าง

ดังนั้นการกระทำของนาย จิตตะเสน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องกับนิตยสาร “ปาจารยสาร” ถือได้ว่าเป็นการจงใจ สมรู้ร่วมคิด และมุ่งทำลายพระเกียรติของในหลวง รัชกาลที่ 7 อย่างร้ายแรงที่สุด

และเป็นที่น่าตกใจว่า ณัฐพล ใจจริง ได้นำบทความของนาย จิตตะเสน ปัญจะ มาอ้างในหนังสือ กบฏบวรเดช : เบื้องแรกปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม 2475 ที่ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2559 โดยนำมาสนับสนุนความคิดเพ้อฝันของเขาที่ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไม่ชอบประชาธิปไตย และทรงต้องการต่อต้านคณะราษฎร

ไม่น่าเชื่อว่าผู้ที่มีความรู้เป็นถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่าง ณัฐพล ใจจริง จะอาศัยหลักฐาน “ปลอม” และ “ไม่น่าเชื่อถือ” มาประกอบงานเขียนทางวิชาการของเขา จนเรียกได้ว่าไม่ต่างอะไรจาก “อาชญากรรมทางวิชาการ” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ ต่อมาได้ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงจากพลเอก บัญชร ชวาลศิลป์ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ว่าเป็นหลักฐานที่ไม่มีความน่าเชื่อถือใด ๆ เลย

ที่มา :

[1] จิตตะเสน ปัญจะ (2542) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสั่งประหารคณะผู้ก่อการ2475 ปาจารยสาร ฉบับที่ 1 ปีที่ 26 กรกฎาคม – ตุลาคม.

[2] ณัฐพล ใจจริง (2559) กบฏบวรเดช : เบื้องแรกปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม 2475 สำนักพิมพ์มติชน.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า