ระเบิดปริศนา ในรายการบัญชีพระแสงปืนของรัชกาลที่ 8

เมื่อผู้สนใจใคร่รู้ในประวัติศาสตร์การเมืองคดีสวรรคต ได้ศึกษาข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาศาลอาญาคดีประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 โดยละเอียดแล้วนั้น คำพิพากษาของศาลไม่ว่าจะชั้นต้นก็ดี ชั้นอุทธรณ์ก็ดี หรือฎีกาก็ดี จะเห็นได้ว่า มีข้อเท็จจริงจำนวนมากที่ยังไม่ถูกสังคมวิชาการหยิบยกขึ้นมาศึกษามากนัก ไม่ว่าจะเป็นเพราะนักวิชาการเหล่านั้น ไม่อ่านคำพิพากษาทั้ง 3 ศาล ก็ดี หรืออาจจะอ่านแล้ว แต่กลับ “ตั้งใจ” ไม่พูดถึงก็ดี

จริงอยู่ว่า ในทางคดีนั้น ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาจะต้องเป็นที่สุด แต่หากจะศึกษากันในแง่มุมทางประวัติศาสตร์การเมืองแล้ว ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ควรค่าแก่การนำมาศึกษาเช่นเดียวกัน

ตัวอย่าง ข้อเท็จจริงสำคัญที่ต้องหยิบยกมาพิจารณาคือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ว่า “ปรากฏระเบิด จำนวน 2 ลูก อยู่ในรายการบัญชีพระแสงปืนของล้นเกล้นกระหม่อม” (ซึ่งหมายถึงในหลวงรัชกาลที่ 8)

ขอให้ผู้อ่านลองตั้งคำถามขบคิดกันว่า ครอบครัวมหิดลที่มีกันอยู่ 4 คนแม่ลูก ใช้ชีวิตอย่างแสนประหยัดอดออมอยู่ต่างบ้านต่างเมืองแม้แต่ “ของเล่น” ของในหลวงทั้งสองพระองค์ ในหลวงทั้งสองพระองค์ ยังต้องเก็บออมเอาจากค่าขนมที่ได้จากการไปโรงเรียน ดังนั้น ของเล่นที่จะสามารถหาซื้อได้ จะต้องเป็นของเล่นราคาไม่แพงนัก ดังนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 8 จะมาทรงนิยมเล่นปืน เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นไปได้มากน้อยเพียงไร ดังนั้น ประเด็นที่ว่า ในหลวงรัชกาลที่ 8 “ทรงโปรดปืน” มาตั้งแต่แรก ดังที่หลายความเห็นพยายามชี้นำ มีความเป็นไปได้หรือไม่เนื่องจากอาวุธปืน เป็นของเล่นที่มี “ราคาแพง”

ประเด็นควรนำมาขบคิดพิจารณาคือ เมื่อครั้งในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงเจริญพระชันษามากขึ้น และเสด็จนิวัติเมืองไทย ปรากฎว่า นายปรีดี พนมยงค์ ได้เป็นธุระนำเสด็จ ไปทอดพระเนตรกิจการ การฝึกอาวุธของเสรีไทย ที่จังหวัดชลบุรี หลังจากเสด็จในครั้งนี้ นายปรีดีฯ ถวายปืน ไว้ให้ในหลวงรัชกาลที่ 8 ไว้เป็นที่ระลึก และมีเรือเอกวัชรชัยฯ เป็นผู้ถวายการหัดยิงปืน โดยที่พระองค์ไม่ได้ทรงโปรดปืนมาตั้งแต่แรก

ต่อมา มีการหัดยิงปืนในวัง จนคนในวังเกิดความเคยชินกับเสียงปืน ข้าราชบริพารต่างคุ้นชินกับเสียงปืนที่ดังสนั่นหวั่นไหวภายในพระที่นั่งบรมพิมาน แต่อย่างไรก็ดี ในหลวงรัชกาลที่ 8 ก็ทรงพระแสงปืนด้วยความระมัดระวังทุกครั้ง และมีการบันทึกการยิงไว้ทุกครั้ง หลังจากยิงเสร็จ ซึ่งพระราชบันทึกนี้ มีส่วนช่วยอย่างมาก ในการสืบสวน ตรวจพิสูจน์ปืนของกลาง จนผลนิติวิทยาศาสตร์ออกมาว่าปืนของกลางนั้น ไม่ใช่กระบอกที่ใช้ปลงพระชนม์

นอกจากนั้น “ลูกปืน” ของกลาง ที่เป็นหลักฐานสำคัญในคดี ก็ถูกสับเปลี่ยนออกไป โดยลูกปืนของกลางในสำนวน “ไม่มีรอยกระทบของแข็งอันนำมาซึ่งการบุบ” ในขณะที่การทดลองยิงโดยคณะแพทย์ กลับพบว่า เมื่อลูกปืนเจาะเข้าหัวกะโหลก จากการทดลองยิงศพอื่นๆนั้น กลับพบรอยบุบบู้บี้ของลูกปืน

ประเด็นสำคัญคือ กว่าที่จะได้ลูกปืนของกลางไว้ในสำนวน ปรากฎว่ามีระยะเวลาล่วงเลยมาแล้ว 3 วัน และคนที่เก็บลูกปืนได้นั้น ก็คือนายชิตฯ ผู้เป็นจำเลยนั่นเอง แต่เก็บได้ที่ไหนนั้น นายชิตฯก็กลับให้การสับสนวกวน

ย้อนกลับมาประเด็นสำคัญที่เราจะพิจารณาในชั้นนี้ ขอให้พิจารณาว่า “ระเบิด 2 ลูก” ที่ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงมีในครอบครองตามรายการบัญชีอาวุธที่ปรากฎในสำนวน ทั้ง ๆ ที่พระองค์ไม่ได้โปรดเครื่องเล่นทำนองนี้มาตั้งแต่แรกนั้น หากเกิดเหตุระบิดขึ้นมา บุคคลผู้หวังร้ายอาจจะถูกมองข้ามไปเป็นแน่แท้เพราะเหตุระเบิดนั้นเกิดจาก “อุปัทวเหตุ” และจะไม่มีใครต้องเป็นจำเลยให้ยุ่งยากในทางคดีอีก

คำถามคือ ใครกันที่ถวายของวัตถุอันตรายแบบนี้ ไว้ให้พระองค์?

ที่มา :

[1] คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ความอาญา คดีประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า