ย้อนมอง ‘ศตวรรษแห่งการก่อกบฏ’ และการปราบปรามอย่างเด็ดขาดของรัฐบาลทั่วโลก
หนึ่งในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีการยกมาพูดกันบ่อยๆ คือ การปราบปรามกบฏในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีนักวิชาการบางคนพยายามบอกว่า เหตุการณ์เหล่านั้นเป็นการที่รัฐศูนย์กลางใช้อำนาจกดขี่ทำร้ายประชาชน
อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่า “การก่อกบฏ” คือการต่อสู้ทางการเมืองในลักษณะหนึ่ง โดยมีกลุ่มคนหรือคณะใดคณะหนึ่งลุกขึ้นมาต่อต้านขัดขืนอำนาจรัฐ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การก่อรัฐประหาร การก่อการร้าย รวมไปถึงการก่อจลาจลโดยประชาชน
ซึ่งถ้ากลุ่มผู้ก่อการพ่ายแพ้ในการต่อสู้ ก็จะถือว่ามีความผิดฐานเป็น “กบฏ” ทันที และจะต้องได้รับโทษตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ
นี่คือหลักในทางรัฐศาสตร์ ที่ใช้ยึดถือเหมือนกันหมดทุกประเทศทั่วโลก
สำหรับการก่อกบฏในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น สาเหตุสำคัญเกิดจากการเสียผลประโยชน์ของบรรดาขุนนางท้องถิ่น จากการที่ทางกรุงเทพฯ ส่งข้าราชการขึ้นไปพัฒนาตามหัวเมืองต่างๆ อีกทั้งปัญหาชนกลุ่มน้อยนอกพื้นที่ซึ่งลักลอบเข้ามาสร้างความวุ่นวายในช่วงนั้น ทั้งหมดล้วนกลายเป็น “แรงจูงใจ” ทำให้เกิดการปลุกระดมเพื่อก่อความวุ่นวายขึ้น จนมีแนวโน้มส่งผลเสียหายต่อการปกครองทั้งในระดับหัวเมือง หรือในขั้นเลวร้ายก็อาจกระทบไปถึงการปกครองระดับประเทศได้ ทำให้ทางรัฐบาลจำเป็นต้องส่งกำลังเข้าปราบปราม
ดังนั้น การปราบกบฏในสมัยนั้นจึงไม่ใช่การที่รัฐศูนย์กลางใช้กำลังกดขี่ทำร้ายประชาชน ตามที่มีนักวิชาการบางคนพยายามบิดเบือน
และในช่วงนั้นยังถือเป็นยุคที่มีการก่อกบฏขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก จนถูกเรียกว่า “ศตวรรษแห่งการก่อกบฏ” การปราบกบฏในประเทศต่างๆ ล้วนเต็มไปด้วยความรุนแรงเด็ดขาด ซึ่งก็เป็นไปตามบริบทของอดีต ที่เราไม่สามารถเอามุมมองในปัจจุบันไปตัดสินได้
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความรุนแรงแห่งยุคสมัย ยังมีเหตุการณ์กบฏครั้งหนึ่ง ที่สุดท้ายผู้ก่อการต่างได้รับการลดโทษและไม่ต้องถูกประหารชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นในประเทศสยาม
การปราบปรามกบฏทั่วโลกมีความรุนแรงขนาดไหน ? กบฏในสยามที่ผู้ก่อการไม่ต้องรับโทษประหารชีวิตคือกบฏครั้งใด ? พบกับเรื่องราวหลากหลายเกี่ยวกับเหตุการณ์กบฏครั้งสำคัญ ได้ในคลิปวิดีโอนี้