ม.112 ลิดรอนเสรีภาพและรังแกประชาชนจริงหรือ?

“ทำตัวเหนือกฎหมาย”
“ร่ำรวยบนความทุกข์ผู้อื่น”
“อุ้มฆ่าประชาชน”
“ครอบครัวปรสิต”
“ออกไป ไอ้…”

ถามว่า…คำพูดเหล่านี้ เป็นการวิจารณ์โดยสุจริตใจ ใช่หรือไม่?
และถามอีกว่า…คำพูดเหล่านี้ ถ้าเกิดกับใคร
ถือเป็นการกล่าวหา หมิ่นประมาท มุ่งอาฆาตมาดร้าย ใช่หรือไม่?

และคำตอบจะเป็นสิ่งยืนยันว่า การยกเลิกกฎหมายมาตรา 112 ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นการขวางกั้นเสรีภาพในการวิพากษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นกฎหมายสำหรับปิดปาก รวมไปถึงใช้เป็นเครื่องมือในการ “รังแกประชาชน”

ล้วนเป็นความเข้าใจที่ผิดถนัด และช่างขัดแย้งกับ “พฤติกรรม” ของกลุ่มผู้เรียกร้องให้ยกเลิก ม. 112 เสียจริง

ความเข้าใจผิดที่ส่งต่อ

มีสื่อเสี้ยม พยายามอธิบายให้เกิดความเข้าใจผิดว่า กฎหมายมาตรา 112 ของประเทศไทย เป็น กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ที่รุนแรงที่สุดในโลก และ อาจเป็นกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาที่เข้มงวดที่สุด และการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว “เป็นผลประโยชน์ของสถาบันพระมหากษัตริย์”

เป็นการลิดรอน และทำลายเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ ตลอดจนการปฏิรูปสถาบันฯ อันเป็นสิ่งที่ควรกระทำได้

อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่เบื้องบนใช้เพื่อ “รังแกประชาชน” ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านั้นพูดถึงสถาบันฯ โดยมิได้มีการดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายใด ๆ เลย

ข้อเท็จจริงที่ควรรับรู้

ความจริงแล้ว กฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือตำแหน่งประมุขของรัฐ (Head of State) เป็นกฎหมายอันชอบธรรมที่ยังคงบังคับใช้ทั่วโลก โดยผู้มีอำนาจบังคับใช้ ยกเลิก หรือแม้กระทั่งดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดคือ ฝ่ายบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐบาล สภานิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์มิได้เข้ามาก้าวก่ายนโยบาย หรือข้อกฎหมายดังกล่าวแต่ประการใด

แม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ยังมีกฎหมายคุ้มครองตำแหน่งประมุขของรัฐ (Head of State) และยังมีผลบังคับใช้ ตลอดจนดำเนินการพิจารณาคดีกับผู้กระทำผิดอยู่ในปัจจุบัน

ทีนี้เราลองมาเปรียบเทียบสาระสำคัญระหว่าง กฎหมายมาตรา 112 กับกฎหมายหมิ่นประมาท ที่ใช้สำหรับบุคคลทั่วไปกันดู

ดูหมิ่นซึ่งหน้า มาตรา 393

ตามประมวลกฎหมายอาญาภาค 3 ความผิดลหุโทษในมาตรา 393 บัญญัติว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

การดูหมิ่น คือการกระทำ การเหยียดหยาม การสบประมาท การทำให้อับอาย ซึ่งอาจจะเป็นการกระทำโดยทางกาย หรือวาจาก็ได้ และการกระทำนั้นเป็นการลดคุณค่าผู้ถูกดูหมิ่นลงโดยผู้ที่หมิ่น ดังนั้นจึงอาจเป็นคำด่า คำหยาบ สบประมาท ซึ่งหน้า หมายถึงการกระทำที่สามารถเข้าถึงตัวอีกฝ่ายหนึ่งได้ อาจมีการเข้าถึงตัวก่อเหตุร้ายได้ในทันทีทันใด

หมิ่นประมาท มาตรา 326

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

อธิบายเพิ่มเติมคือ การใส่ความรวมไปถึงการพฤติกรรมของผู้กระทำที่กล่าวหาบุคคลอื่น ต่อบุคคลที่สาม อาจทำด้วยวาจา กริยาท่าทาง การเขียน พิมพ์ หรือวิธีการใดก็ได้ การใส่ความจึงเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าผู้ถูกหมิ่นประมาทเป็นคนไม่ดี คดโกง ทุจริต คอร์รัปชั่น เป็นต้น นอกจากนั้น การพิจารณาว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำหมิ่นประมาทนั้น ว่าเป็นการเสียเกียรติ เสียชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น หรือไม่ พิจารณาจากความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วๆไป ไม่ได้พิจารณาจากความเห็น หรือความรู้สึกของผู้ใส่ความหรือผู้ถูกใส่ความเพียงอย่างเดียว

กฎหมายมาตรา 112

“ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี”

ความผิดฐานมาตรา 112 นั้น ความหมายของการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แม้จะเป็นความหมายเดียวกันกับความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า และหมิ่นประมาทก็ตาม แต่หากพิจารณาให้ลึกซึ้ง จะเห็นได้ว่า มีการเพิ่มเติมคำว่า “แสดงความอาฆาตมาดร้าย” เข้ามาด้วย อีกทั้งบุคคลผู้ถูกกระทำ (ผู้ถูกดูหมิ่น ถูกใส่ความ) ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า และฐานหมิ่นประมาท กฎหมายบัญญัติว่า “ผู้อื่น” ซึ่งหมายถึงบุคคลใดๆก็ได้ แต่ความผิดตามมาตรา 112 นี้ กฎหมายได้บัญญัติ เพิ่มเติมพฤติการณ์ที่ผิดกฎหมายเข้ามาด้วย ซึ่งก็คือ “แสดงความอาฆาตมาดร้าย” นั่นเอง

จากตัวบทที่เขียนในมาตรา 112 กฎหมายมุ่งคุ้มครองตำแหน่ง ไม่ใช่คุ้มครองตัวบุคคล กล่าวคือ ตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งพระราชินี ตำแหน่งรัชทายาท และตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประเด็นนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่า ความผิดฐาน 112 มุ่งคุ้มครองตำแหน่งประมุขของรัฐ (Head of State) และตำแหน่งที่ใกล้ชิดประมุขของรัฐ (พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์)

โดยสรุป กฎหมายมาตรา 112 จะบัญญัติพฤติการณ์ประกอบการกระทำเหมือนกับมาตรา 326 และมาตรา 393 หากแต่แตกต่างกันตรงที่ว่า มาตรา 112 ได้บัญญัติผู้ถูกกระทำที่ต่างออกไป ซึ่งไม่ใช่การคุ้มครองตัวบุคคล แต่เป็นการคุ้มครองตำแหน่งประมุขของรัฐ (Head of State) นั่นเอง

ซึ่งถ้าพิจารณากันง่าย ๆ โดยยึดสาระสำคัญของข้อกฎหมายแล้ว หากเราไม่ได้หมิ่นประมาท ไม่ดูหมิ่น ไม่แสดงความอาฆาตมาดร้าย เพียงไม่กระทำแค่ 3 กรณีนี้ ก็ไม่มีความผิดใน มาตรา 112

ดังนั้นจึงเป็นคำถามน่าคิดว่า ผู้ที่ยืนยันคัดค้านข้อกฎหมายนี้ มีจุดประสงค์อันใดแอบแฝง ทั้ง ๆ ที่ กฎหมายมาตรา 112 ไม่ได้มีไว้เพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพทางวิชาการ หรือการพูดคุยถกเถียงถึงพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบัน

แต่มีไว้เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ประชาชนทั่วไปมีกฎหมายหมิ่นประมาทคุ้มครอง

ข้อสำคัญที่สุด คงต้องย้อนถามกลับไปถึงผู้ที่ต้องการให้ยกเลิกกฎหมาย มาตรา 112 ว่าแท้จริงแล้ว “พฤติการณ์” ของพวกเขาเป็นอย่างไร สิ่งที่พวกเขา(จะ)ทำ หรือ(จะ)พูด ทั้งในปัจจุบัน และอนาคตนั้นอยู่ในขอบเขตของการวิพากษ์อย่างแท้จริง หรือเป็นการให้ร้ายใส่ความ มุ่งอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

และคำตอบก็เห็นกันอยู่แล้วจากพฤติกรรมคำพูดทั้งหลาย ของกลุ่มแนวร่วมปลดแอกที่ผ่านมาว่า พวกเขากำลัง “เรียกร้อง” หรือ “รุกล้ำ” เสรีภาพกันแน่

ที่มา :

Hyperlink
Hyperlink

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า