‘มูลนิธิและการบริจาค’ สัมพันธ์ใหม่ในโลกที่เปลี่ยนแปลง ที่ไปไกลกว่าแค่ว่าใคร ‘ดี’ หรือ ‘ไม่ดี’

ประเด็นเรื่องของการดำรงอยู่ของมูลนิธิและการบริจาค ได้อยู่คู่กับสังคมมาอย่างยาวนาน ซึ่งแม้ว่าจะมีแง่มุมที่อาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหา เช่น การใช้มูลนิธิเพื่อบังหน้าการกระทำอื่นๆ แต่การกระทำโดยทั่วไปของมูลนิธิและการบริจาคนั้นไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย เพราะทั้งสองสิ่งนี้ย้ำเตือนเราอยู่เสมอว่า ความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ สามารถทุเลาได้เบื้องต้น หรือบางกรณีมีประสิทธิภาพไม่แพ้การ “แก้ไขเชิงโครงสร้าง” เช่นเดียวกัน เช่น Novo Nordisk Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิจากเดนมาร์กที่มีรัฐสวัสดิการนั้น เน้นในเรื่องการแพทย์ การที่ประเทศซึ่งมีรัฐสวัสดิการก็ยังมีมูลนิธินั้น จึงไม่ใช่ว่าประเทศเหล่านี้อยากจะทำบุญหรืออยู่บนยอดพีระมิด แต่มูลนิธินั้นได้สร้างความยืดหยุ่นในการทำงานและการแก้ไขปัญหาด้วย

อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเด็นนี้ได้ถูกพลิกแง่มุมใหม่ให้กลายเป็นสิ่งที่แย่มากขึ้นผ่านนักการเมืองที่อาจจะจำเป็นต้องทำให้ทั้งสองสิ่งนี้แย่ลงเพื่อชูว่าตัวเองคือสิ่งที่ดีกว่าและเป็นผู้ปลดปล่อยเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น โดยมองว่าทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เลวร้าย ถึงขนาดที่มีการกล่าวว่า “เจียดเศษเงินมาบริจาค แล้วยกตัวเองเป็นคนดี” โดยที่เขาอาจจะไม่รู้ตัวว่าเขาก็อาจจะยกตัวเองว่าเป็นคนดีอีกแบบหนึ่งด้วย

กำเนิดเริ่มแรกของมูลนิธิย้อนกลับไปได้ถึงยุคกรีกโบราณ แต่มูลนิธิในลักษณะที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันเริ่มขึ้นที่อังกฤษ โดยกลุ่มที่นับถือโปรเตสแตนต์ แต่ต่อมาได้ถูกขยายไปยังคนทั่วไปด้วย เช่น Thomas Coram ที่ตั้งมูลนิขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ถูกทิ้งในลอนดอน โดยตั้งโรงพยาบาลมูลนิธิ Foundling Hospital ขึ้นมา [1] ดังนั้นในแง่นี้แล้วการลุกขึ้นมาทำมูลนิธิจึงเป็นการลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องรอ การจัดทำมูลนิธิจึงสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ผ่านการให้เชิงกลยุทธ์ (Strategic philanthropy) [2] ดังนั้นการศึกษาวิธีการดำเนินงานของมูลนิธิจึงสำคัญ และไม่มีใครดูแคลนจนออกงานออกมาเป็นหนังสือเล่มๆ ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิควรทำอย่างไรจึงจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง [3] มูลนิธิและการบริจาคจึงไม่ใช่ที่ไว้ “เจียดเศษเงิน” เท่านั้น แต่มีการทำงานอย่างจริงจังโดยที่กลไกรัฐมิอาจทำงานได้ดีพอ

การมีมูลนิธิและการบริจาค รวมไปถึงการทำงานร่วมกับภาครัฐเป็นความสัมพันธ์ในการบริหารราชการแบบใหม่ที่ทางรัฐประศาสนศาสตร์เรียกว่า การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Administration) ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายทุกระดับรวมไปถึงการทำงานกับภาคเอกชน เพื่อกการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมโดยรวม [4] ดังนั้นแล้ว สำหรับมูลนิธิและการบริจาคนักวิชาการยังกล่าวด้วยซ้ำว่า เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อระบอบทุนนิยมประชาธิปไตยในปัจจุบัน เพราะมันสามารถแก้ปัญหาที่มาจากตลาดได้ดีกว่ารัฐ [5] และมูลนิธิยังได้สร้างการร่วมมืออย่างเป็นอิสระปราศจากการบังคับซึ่งไปหนุนประชาธิปไตยระดับล่างสุดในอีกมุมหนึ่งอีกด้วย [6]

การร่วมมือในระดับปัจเจกนี้จึงได้ทำให้พลังของประชาสังคม (Civil society) เข้มแข็งมากขึ้น การมีมูลนิธิจำนวนมากจึงอาจเป็นตัวสะท้อนที่ดีของความเป็นปึกแผ่นของสังคม มิใช่การทำเพื่อยกตนเป็นคนดี ซึ่งนักวิชาการมีความจริงจังกับเรื่องมูลนิธิและการบริจาคนี้มากจนกระทั่งเขียนงานกันว่า ทั้งสองอย่างนี้ควรจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรในสังคมประชาธิปไตย [7] ซึ่งองค์กร NGO ต่างๆ เหล่านี้ก็ได้บริจาคให้กับหลายภาคส่วนในไทยด้วย แบบนี้แล้วพวกเขาแค่เจียดเงินให้ไทยหรือไม่? พวกเขาต้องการอยู่บนยอดพีระมิดใช่หรือไม่?

และหากกล่าวว่า “ยกตัวเองเป็นคนดี” แล้ว ประเทศเหล่านี้ก็คงยกตนเองอย่างมาก กล่าวคือ สวีเดนมีมูลนิธิกว่า 20,000 แห่ง ในสหรัฐอเมริกามีกว่า 76,000 แห่ง หรืออีกว่า 10,000 แห่งในแคนาดา ประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นประเทศเจริญแล้วทั้งสิ้น แต่พวกเขาก็ยังมีมูลนิธิ เพราะมูลนิธิไม่ใช่แค่เรื่องการยกตนเป็นคนดี แต่เกี่ยวข้องกับทั้งศีลธรรมที่กินความกว้างกว่าการเป็นคนดี [8] และมูลนิธินี้เองก็ได้ทำงานในการ “เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง” ร่วมกับหน่วยงานรัฐ ไม่ได้ทำงานเดี่ยวๆ [9] การทำงานของมูลนิธิและการบริจาคจึงมีความซับซ้อนอยู่ในตัวหลายแง่มุม

หากเราไปดูมูลนิธิที่ใหญ่ที่สุดในโลก 50 อันดับแรก เราจะพบว่าร้อยละ 99 นั้นเป็นมูลนิธิของประเทศที่เจริญแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม มูลนิธิยังคงเติบโตและดำเนินงานอย่างแข็งขัน สังเกตได้จากรายงานของ OCED ในหลายๆ ฉบับ แต่ทั้งนี้นักการเมืองบางท่านอาจจะไม่เข้าใจการทำงานของมูลนิธิและการบริจาค เพราะเขาได้มองสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นการทำเพื่อให้ “คนจนจะมีความมั่นคงในชีวิตไม่ได้” ไป และเขาเกลียดกลัวเหลือเกินกับการมี “คนดี”ที่ “ทำดี” ผ่านการตั้งมูลนิธิหรือการบริจาค

จึงน่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่า โมเดลรัฐสวัสดิการของเขานั้นจะมาเพื่อปลดปล่อย หรือมาเพื่อทำให้ทุกคนรู้ว่า “กูคือคนดีที่ดีกว่า”?

อ้างอิง :

[1] Jacqueline Banerjee, “Captain Coram and the Foundling Hospital,” The Victorian Web.
[2] Jolita Vveinhardt and Rasa Zygmantaite, “Impact of Social Context on Strategic Philanthropy: Theoretical Insight,” Procedia – Social and Behavioral Sciences Volume 214, 5 (December 2015): 1165-1173.
[3] Peter Grant, The Business of Giving: The Theory and Practice of Philanthropy, Grantmaking and Social Investment (London: Cass Business Press, City University London, 2012).
[4] Mohan Kaul, “The New Public Administration: management innovations in government,” Public Administration and Development (1997): 13-26.
[5] Sameeksha Desai and Zoltan J. Acs, “Democratic Capitalism and Philanthropy in a Global Economy,” in Public Policy in an Entrepreneurial Economy, (eds.) Zoltan J. Acs and Roger R. Stough (New York: Springer-Verlag, 2008), pp. 281-293.
[6] Inchoon Kim, “Voluntary associations, social capital, and civil society in comparative perspective: South Korea and Sweden,” Global Economic Review Volume 33 Issue 4 (2004): 75-96. 
[7] Philanthropy in Democratic Societies: History, Institutions, Values (Chicago: University of Chicago Press, 2016).
[8] Giving Well: The Ethics of Philanthropy (Oxford: Oxford University Press, 2011).
[9] Stephen J. Ball, “New Philanthropy, New Networks and New Governance in Education,” Political Studies Volume 56, Issue 4 (2008): 747-765.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า