พระราชกรณียกิจซึ่งจัดตั้งเป็นมูลนิธิ มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และตรวจสอบได้

ตามที่ได้เคยอธิบายเบื้องต้นไปแล้วว่า พระราชกรณียกิจ (Royal duties) หมายถึง กิจอันพึงกระทำของพระเจ้าแผ่นดิน พระราชกรณียกิจนี้ เป็นพระราชอำนาจอย่างหนึ่งที่ไม่ได้มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือปรากฏชัดเจนอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใด แต่พระราชกรณียกิจนี้ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ (Head of state) โดยประเทศไทยพระราชกรณียกิจจะดำเนินการในลักษณะเป็นนิติบุคคลรูปแบบมูลนิธิ

คำถามคือ ในหลวงใช้พระราชทรัพย์แจกจ่ายแก่ราษฎร ไม่ต้องมีการรับผิดรับชอบอะไร? ไม่มีรูปแบบ ไม่มีคณะทำงาน ไม่มีรูปธรรมจับต้องได้? ทรงให้ทานเป็นพระราชทรัพย์ แจกเป็นเงิน แจกเป็นของ จะง่ายและสะดวกกว่าหรือไม่? ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ เรามาพิจารณารายละเอียดกันก่อนว่า วิธีการดำเนินงาน และความรับผิดชอบของนิติบุคคลรูปแบบมูลนิธินั้น เป็นอย่างไร

ยกตัวอย่างมูลนิธิ 3 มูลนิธิ ที่ในหลวงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการในพระองค์เป็นผู้รับมอบอำนาจไปดำเนินการจดทะเบียนกับนายทะเบียนกระทรวงมหาดไทย คือ

  1. มูลนิธิราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  2. มูลนิธิภูบดินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  3. มูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

การดำเนินการของมูลนิธิทั้ง 3 มูลนิธิ อยู่ภายใต้กฎหมาย 3 ฉบับ นั่นคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 110 ถึงมาตรา 136 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 60 ถึงมาตรา 69 และ กฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการ และการทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545 ข้อ 13 ถึงข้อ 14

นายทะเบียนมูลนิธิ มีอำนาจแม้กระทั่งเข้าไปตรวจตราการดำเนินกิจการของมูลนิธินั้นด้วยตนเอง และหากพนักงานเจ้าหน้าที่มูลนิธิรายใด ไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าไปตรวจสอบกิจการของมูลนิธิ พนักงานเจ้าหน้าที่มูลนิธิผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติกำหนดความผิดฯ เกี่ยวกับมูลนิธิ มาตรา 65)

กรรมการของมูลนิธิผู้ใด ดำเนินกิจการผิดวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ และการดำเนินกิจการนั้นน่าจะเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน กรรมการผู้นั้นก็มีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติกำหนดความผิดฯเกี่ยวกับมูลนิธิ มาตรา 66)

นายทะเบียนมีอำนาจตรวจตรา และควบคุมดูแลการดำเนินกิจการของมูลนิธิ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ และให้นายทะเบียน มีอำนาจให้กรรมการ พนักงาน ลูกจ้างหรือตัวแทนของมูลนิธิ ชี้แจง แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของมูลนิธิ หรือเรียกบุคคลดังกล่าวมาสอบถาม หรือให้ส่งหรือแสดงสมุดบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของมูลนิธิเพื่อตรวจสอบ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 128)

การบริหารจัดการนิติบุคคล มีความยุ่งยากประการหนึ่ง นั่นคือการตรวจสอบบัญชีเพื่อให้การดำเนินการมีความโปร่งใส ดังนั้น กฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการ และการทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545 หมวด 3 ข้อ 13 จึงกำหนดให้ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี มูลนิธิต้องรายงานผลการดำเนินการต่อนายทะเบียนพร้อมทั้งหลักฐาน ได้แก่

  1. รายงานการดำเนินกิจการของมูลนิธิในปีที่ผ่านมา
  2. บัญชีรายได้รายจ่าย และสำเนางบดุลของมูลนิธิในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้รับรองความถูกต้องแล้ว
  3. สำเนารายงานการประชุมของคณะกรรมการของมูลนิธิทุกครั้งในปีที่ผ่านมา

มาตรการทางกฎหมายข้างต้น เป็นไปเพื่อควบคุมดูแลการจัดการมูลนิธิ ให้ดำเนินกิจการไปด้วยความเรียบร้อย ตามกรอบของกฎหมาย ข้อบังคับ และวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นระบบกฎหมายที่กำหนดทิศทางการดำเนินงานของมูลนิธิ อย่างน้อยในประเด็นดังต่อไปนี้คือ

  1. เพื่อเป็นมาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับการควบคุมกำกับการแสวงหารายได้ของมูลนิธิ
  2. เพื่อเป็นมาตรการทางกฎหมาย ในการควบคุมกำกับการดำเนินกิจการการใช้จ่ายของมูลนิธิ
  3. เพื่อเป็นมาตรการสร้างความโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบว่ามูลนิธินั้น ๆ เมื่อตั้งขึ้นมาแล้ว มีการดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งมูลนิธินั้นหรือไม่

โดยสรุปแล้ว จากที่ได้อธิบายมาทั้งหมด การดำเนินพระราชกรณียกิจขึ้นมาในรูปแบบนิติบุคคลที่จัดตั้งเป็นมูลนิธินั้น คือการจัดการนิติบุคคล ที่แม้จะมีความยุ่งยากกว่าการจัดการและสั่งการด้วยบุคคลเพียงคนเดียว แต่ก็เป็นไปเพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมดูแลการจัดการมูลนิธิ จะก่อให้เกิดผลดีต่อการควบคุมดูแล และป้องกันไม่ให้มูลนิธิกระทำการที่ไม่ชอบด้วยระเบียบกฎหมาย หรือข้อบังคับของมูลนิธินั้น และท้ายที่สุด เมื่อมูลนิธิถูกควบคุมด้วยระบบกฎหมาย กิจการของมูลนิธินั้นก็จะบรรลุเป้าหมายและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่มูลนิธิได้จดทะเบียนเอาไว้นั่นเอง

ที่มา :

[1] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
[2] พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499
[3] กฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการ และการทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545
[4] มูลนิธิราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
[5] มูลนิธิภูบดินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
[6] มูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า