พระมหากษัตริย์ที่ยอมให้รัฐเก็บภาษีพระองค์เอง จากพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 6 ที่สืบสาน ต่อยอด โดยรัชกาลที่ 10

ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 สยามเริ่มมีการปฏิรูประบบการคลังแผ่นดินให้ทันสมัย สืบเนื่องมาจากโครงการใหญ่ช่วงปฏิรูปประเทศสมัยในหลวง ร.5 นั่นคือ โครงการทางรถไฟสายเหนือและสายอีสาน ซึ่งต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก และจำเป็นต้องกู้เงินในตลาดตราสารหนี้ในยุโรป ดังนั้นสยามจึงต้องบริหารจัดการระบบการคลังให้มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน

การปฏิรูประบบการคลังในครั้งนั้น ทำให้การใช้จ่ายส่วนพระองค์และการใช้จ่ายเงินแผ่นดินแยกออกจากกัน และต่อมาเมื่อในหลวง ร.6 ทรงขึ้นครองราชย์ได้เพียงปีเดียว ก็ทรงมีพระราชหัตถเลขาให้เจ้าพระยายมราช จัดเก็บภาษีที่ดินและโรงร้านจากพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455 เป็นต้นมา เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าควรมีการจัดเก็บภาษีกับคนทุกคนอย่างเสมอภาคกัน

นับได้ว่า ในหลวง ร.6 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงเรียกร้องให้รัฐทำการจัดเก็บภาษีพระองค์เองอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับคนทั่วไป ดังจะเห็นได้จากพระราชหัตถเลขาของพระองค์ ถึงเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล เลขที่หนังสือ 3/49 ลงวันที่ 15 เมษายน ร.ศ. 131 ความว่า …

“ฉันก็ถือว่าฉันเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ทรัพย์สมบัติของฉันที่มีอยู่ก็นับว่าเป็นส่วนมาก ถ้ารัฐบาลจะแบ่งผลประโยชน์ของฉันที่ได้มาจากทรัพย์สมบัติทั้งหมดนั้นบ้าง ฉันมีความยินดีเต็มใจที่จะเฉลี่ยให้เป็นการอุดหนุนชาติแลบ้านเมืองอย่างคนสามัญด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอให้เจ้าพระยายมราชเก็บภาษีอากรในที่ดินแลโรงร้าน ซึ่งนับว่าเป็นสมบัติของส่วนตัวฉันเอง อย่างเช่นที่ได้เคยเก็บมาจากคนอื่น ๆ ทั่วไปนั้น”

การเสียภาษีของในหลวง ร.6 เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป คือความเสมอภาค อันเป็นหลักการสำคัญอย่างหนึ่งในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งตามตำรากฎหมายปกครอง ของปรีดี พนมยงค์ ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า … “มนุษย์เมื่อเป็นอิสระดังที่กล่าวแล้ว ก็อาจที่จะใช้ความอิสระของตนเสมอภาคกับเพื่อนมนุษย์อื่น … กล่าวคือ สิทธิและหน้าที่ในทางกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลอื่น”

และปรีดี พนมยงค์ ได้สดุดีพระเกียรติคุณของในหลวง ร.6 ไว้ในตำรากฎหมายปกครองว่า เป็นเรื่องที่ “ควรระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6”

ปกติชนชั้นปกครอง ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือขุนนาง ไม่ว่าชาติใด ๆ ในโลก มักจะมีอภิสิทธิ์ในทางภาษีอยู่เสมอ เช่น ในประเทศอังกฤษ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ กษัตริย์สามารถเก็บภาษีได้ตามอำเภอใจ หรือก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่มีการยกเว้นภาษีให้กับชนชั้นสูง

จึงไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์โลกว่า พระมหากษัตริย์เรียกร้องให้รัฐเก็บภาษีพระองค์เอง

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ออกกฎหมายภาษีมรดก แล้วสอดไส้ พรบ. ว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวกับทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2477 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เปิดทางไปสู่การเข้ายึดพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์

พรบ. ฉบับนี้ได้วางข้อยกเว้น ให้ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ไม่ต้องถูกจัดเก็บภาษีอากร เหมือนกับเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้ลบล้างพระราชปณิธานของในหลวง ร.6 ที่ทรงพยายามจะเสียภาษีตามกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

ต่อมาสมัยในหลวง ร.9 เรื่องการยกเว้นภาษีของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้เกิดปัญหาขึ้นในแง่กฎหมาย เมื่อสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเช่าที่ดิน ในเขตทุ่งครุ เพื่อตั้งสถานศึกษา และให้กรุงเทพมหานครเช่าที่ดินแปลงติด ๆ กัน ก่อสร้างเป็นสวนสาธารณะ สวนธนบุรีรมย์ เลยเกิดเป็นปัญหาว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ จะได้รับยกเว้นภาษีที่ดินและโรงเรือนหรือไม่

ทางด้านกรุงเทพมหานครได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอความเห็น ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีความเห็นในชั้นแรกว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่ต้องเสียภาษี แต่เนื่องจากผู้เช่าได้เสียค่าเช่า และการที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้รับค่าตอบแทน ตามกฎหมายจึงต้องเสียภาษีที่ดินและโรงเรือน แต่เนื่องจาก พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ได้กำหนดข้อยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีอากร สรุปว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงไม่ต้องเสียภาษี

เรียกได้ว่าเป็นความสับสนและลักลั่นในทางกฎหมายเป็นอย่างมาก

ต่อมาเมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการพิจารณาร่างกฎหมายจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ฉบับใหม่ และแก้ไขไม่ให้มีการยกเว้นภาษีแก่พระมหากษัตริย์เป็นกรณีพิเศษ

ดังนั้นตาม พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 มาตรา 9 จึงบัญญัติว่า “ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ต้องเสียภาษีอากร” และข้อยกเว้นหรือการลดหย่อนภาษีในทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเหมือนกับบุคคลทั่วไป โดยไม่มีข้อยกเว้นพิเศษต่อพระมหากษัตริย์อีกต่อไป

หลักกฎหมาย พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 เกิดขึ้นมาจากพระราชดำริของในหลวง ร.10 ที่ทรงต้องการแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายที่ลักลั่นของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และที่สำคัญคือ เป็นการสืบสาน ต่อยอด พระราชปณิธานของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ที่ทรงต้องการเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป

เรื่องการเสียภาษีนี้มีแนวทางมาตั้งแต่สมัยในหลวง ร.9 แล้ว พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะให้มีการเสียภาษีเงินได้เช่นกัน จึงได้มีการให้ถือครองทรัพย์สินผ่านการจดทะเบียนบริษัท เมื่อเป็นบริษัทก็มีฐานะเป็นนิติบุคคล และต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

และอย่างที่เรารู้กันว่า แม้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีอัตราภาษีที่สูงกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ในหลวง ร.10 ก็ทรงต้องการให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ดำเนินงานอย่างถูกต้อง จึงทรงให้เปลี่ยนการถือครองพระราชทรัพย์มาไว้ในพระปรมาภิไธย เพื่อที่จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

เรื่องนี้น่าจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนให้กับผู้ที่พยายามตั้งแง่และกล่าวหาว่า การจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จากที่แต่เดิมอยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง มาเป็นพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือการนำทรัพย์สินของแผ่นดินมาเป็นของพระองค์เองนั้น เป็นเรื่องที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง

อ้างอิง :

[1] ปรีดี พนมยงค์.ประชุมกฎหมายมหาชนและเอกชนของปรีดี พนมยงค์, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553
[2] พระราชหัตถเลขา ร.6 เลขที่ 3/49 ถึงเจ้าพระยายมราช วันที่ 15 เมษายน ร.ศ.131
[3] พรบ.ว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2477
[4] พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479
[5] พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2484 (ฉบับที่ 2)
[6] พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2491 (ฉบับที่ 3)
[7] พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561
[8] ความเห็นคณะกรรมการกฤษฏีกา เรื่องเสร็จที่ 705/2555

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า