ผู้ช่วยทูตฝรั่งเศสระบุชัด ประกาศคณะราษฎรเข้าข่ายคุกคามต่อพระมหากษัตริย์

รู้ไหมว่า การกระทำที่ถือว่าเป็นการ “คุกคามพระมหากษัตริย์” หรือ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” นั้น มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต และหากไล่ย้อนกลับไป การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2475 นั่นคือหนังสือกราบบังคมทูลฯ ที่มีลักษณะข่มขู่คุกคามต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โดยคณะราษฎรผู้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองนั่นเอง

การคุกคามของคณะราษฎร

การปฏิวัติสยามในปี พ.ศ. 2475 ได้มีบุคคลสำคัญของต่างประเทศผู้หนึ่ง ที่เป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์ครั้งนี้นั่นคือ พันโทอองรี รูซ์ (Henri Roux) ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือฝรั่งเศสประจำสยาม

พันโทอองรี ได้รายงานสถานการณ์ในสยาม กลับไปยังผู้บังคับบัญชาอย่างละเอียด ซึ่งเอกสารเหล่านั้นจัดเป็นเอกสารชั้นความลับ ที่รายงานจากสถานทูตฝรั่งเศสในสยาม ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและหน่วยข่าวกรองของกองทัพฝรั่งเศส

โดยเอกสารฉบับที่ 23/A ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 หัวข้อ “เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองหลวงของสยาม” พันโทอองรีได้ระบุชัดว่าประกาศของคณะราษฎร (หรือที่เรียกกันว่า “ประกาศฉบับใหญ่” ในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยคณะราษฎร) รวมถึงคำทูลเชิญให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จนิวัติพระนครในทันทีนั้น ถือเป็นการ “คุกคามพระมหากษัตริย์” และเกือบจะเป็นการ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” โดยข้อความของเอกสารดังกล่าวระบุว่า

“หนังสือกราบบังคมทูลฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันศุกร์ และที่ได้ประกาศในกรุงเทพฯ หลังจากนั้นไม่นาน เป็นการเขียนที่มีลักษณะข่มขู่คุกคาม และเกือบจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งตรงกันข้ามกับคำแถลงการณ์ที่ประกาศในวันรุ่งขึ้น ที่กลับใช้คำที่ให้ความรู้สึกเคารพเทิดทูนและอะลุ่มอล่วย…ดูเหมือนว่าในระหว่างนั้น รัฐบาลชั่วคราวกลับได้สติอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ตื่นเต้นกับชัยชนะในการทำการปฏิวัติ และได้ ‘ตระหนักถึง’อันตรายร้ายแรงที่สุด ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการละเมิดพระราชอำนาจของกษัตริย์ อันจะทำให้ระบอบการปกครองใหม่ตกอยู่ในอันตราย”

จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า นอกจากพันโทอองรี ได้กล่าวถึงการเขียนประกาศในลักษณะข่มขู่คุกคามพระมหากษัตริย์แล้ว เขายังได้ให้เงื่อนงำอีกว่า ในเวลานั้น รัฐบาลคณะราษฎรได้เริ่มตระหนักแล้วว่า หากพวกเขายังคงมีพฤติกรรมหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อไป ผลกระทบที่จะตามมาต่อระบอบการปกครองใหม่นี้ จะเป็นเรื่องอันตรายร้ายแรงที่สุด

ทำให้หลังจากนั้น รัฐบาลคณะราษฎรได้เปลี่ยนท่าทีต่อพระมหากษัตริย์เสียใหม่ และงดพฤติการณ์ที่เข้าข่ายคุกคามหรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงผลร้ายที่จะเกิดขึ้นและนำไปสู่การสั่นคลอนอำนาจของพวกเขา

ข้อมูลทั้งหมดนี้ เป็นการแสดงให้เห็นอีกด้านหนึ่งของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จากมุมมองของชาวต่างชาติ ที่พระมหากษัตริย์ของไทยได้รับการปฏิบัติจากคณะราษฎร อย่างไม่คำนึงถึงพระเกียรติ เป็นการปฏิบัติในลักษณะข่มขู่คุกคาม และเกือบจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลยทีเดียว

ซึ่งหากสืบสาวต้นตอแห่งการคุกคามให้ลึกลงไป ก็จะพบว่า ผู้ที่เป็นคนร่างประกาศคณะราษฎร อันประกอบไปด้วยถ้อยคำรุนแรงและการบิดเบือนหลายจุดนั้น คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ ปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นมันสมองฝ่ายพลเรือนของคณะราษฎรนั่นเอง

อ้างอิง :

พิมพ์พลอย ปากเพรียว, การปฏิวัติสยาม 2475 ในทัศนะของพันโทอองรี รูซ์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาฝรั่งเศสศึกษา ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยศิลปากร 2553.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า