ปฏิวัติฝรั่งเศส: สิทธิมนุษยชน หรือความโง่เขลาที่คลุ้มคลั่ง

ค.ศ. 1989 ประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง ประกาศว่าในวาระครบรอบ 200 ปี ปฏิวัติฝรั่งเศสนั้น ควรจะเป็นวาระการเฉลิมฉลองการปฏิวัติสิทธิมนุษยชนด้วย

ทว่า นายกรัฐมนตรีอังกฤษ มากาเร็ต แทชเชอร์ กลับตบหน้าฝรั่งเศสฉาดใหญ่ว่า “อังกฤษต่างหากที่เป็นต้นคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน” โดยยกอ้างว่า อังกฤษเขียน ”พระราชบัญญัติการอ้างสิทธิ 1689” และ “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง 1689” ก่อนหน้าการปฏิวัติฝรั่งเศสถึง 100 ปี อีกทั้งงานเขียนทั้ง 2 นี้ ถูกพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญอังกฤษ และ “อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ด้วยกระบวนการทางกฎหมายอย่างสันติ ไม่นองเลือดเหมือนอย่างฝรั่งเศสอีกด้วย

และตามประวัติศาสตร์ หลังจากราชวงศ์บูร์บงถูกล้มลง เหล่าคณะปฏิวัติ เริ่มหันดาบจ่อปืนเข้าหาประชาชนของตัวเอง ประชาชนชาวฝรั่งเศสถูกบังคับให้เชื่อฟังและทำตาม ภายใต้นามของ “เสรีภาพ ความเสมอภาค ภารดรภาพ หรือตาย”

และนอกจากนี้ เหตุการณ์ปฏิวัติทั้งหมด เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในปารีส โดยที่ชาวฝรั่งเศสในจังหวัดอื่น ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วยเลย ดังนั้น เมื่อเกิดการล้มสถาบันขึ้น หลายจังหวัดแสดงอาการกระด้างกระเดื่อง และคณะปฏิวัติก็ตอบโต้ด้วยการ “ใช้ปืนกดหัว”

เพื่อเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู กองทัพคณะปฏิวัติ “สังหารหมู่” ประชาชนผู้เห็นต่างในจังหวัดว้องเดไปมากถึง 2 แสนคน โดยไม่สนว่าจะเป็นคนชรา ผู้หญิง หรือเด็ก ซึ่งการสังหารหมู่ครั้งนี้ เกิดจากความตั้งใจของคณะปฏิวัติโดยเห็นได้จากจดหมายที่นายพลฟร็องซัว โจเซฟ เวสเตียแมนเขียนรายงานไปถึงคณะกรรมาธิการความมั่นคงว่า

“ไม่มีอีกแล้ว ว้องเด, พลเมืองสาธารณรัฐ, มันได้ตายไปแล้วด้วยดาบแห่งอิสรภาพของพวกเรา พร้อมกับผู้หญิงและเด็กของมัน ผมเพิ่งจะฝังมันไว้ในหนองน้ำและป่าของเซิฟเนย์ ตามคำสั่งที่ผมได้รับมา เด็กน้อยถูกกองทหารม้าของเราเหยียบย่ำจนแบน ผมสังหารผู้หญิงซึ่งอาจจะตั้งท้องพวกโจรขึ้นมาอีก ผมไม่มีเชลยแม้สักคนให้ปลดปล่อย ผมฆ่ามันไปหมดแล้ว”

ดาบแห่งความบ้าคลั่งในนามแห่งเสรีภาพนั้น ยังไม่จบเพียงที่ว้องเด แต่ยังหันกลับมา ไล่ฆ่ากันเองในหมู่คณะปฏิวัติ เหล่าแกนนำ ต่างพากันแย่งชิงอำนาจระหว่างกัน กล่าวหา ใส่ร้ายกันและกันด้วยการเมืองสกปรกต่ำช้า จับตัวผู้พ่ายแพ้ไปขึ้นประหารด้วยกิโยติน

พลเมืองปารีสทุกคน ต่างอยู่ด้วยความหวาดกลัว คอยระวังว่าจะถูกกล่าวหาว่า “เป็นศัตรูของเสรีภาพ” ซึ่งมีโทษเพียงสถานเดียวคือ กิโยติน มีตัวเลขบันทึกว่า ปี 1793 – 1794 เพียงปีเดียว มีคนเสียชีวิตเกี่ยวเนื่องจากข้อหา “ศัตรูของเสรีภาพ” มากถึง 2 แสนคน โดย 1.6 แสนถูกกิโยติน และอีก 4 หมื่นตายระหว่างรอการไต่สวน

นี่คือสาเหตุที่เหล่าปัญญาชนอังกฤษ รวมไปถึงเหล่านักวิชาการรุ่นหลังต่างประณามการปฏิวัติฝรั่งเศส ว่าเป็นการกระทำของ “เหล่านักเพ้อฝันที่โง่เขลา”

เอ็ดมุนด์ เบิร์ก (1729 – 1797) นักเขียน นักปรัชญา และนักการเมืองร่วมสมัยปฏิวัติฝรั่งเศส ได้ทำนายล่วงหน้าถึงความวิบัติของการปฏิวัติฝรั่งเศส และเหตุการณ์วุ่นวายและการนองเลือดของฝรั่งเศสใน “Reflections on the Revolution in France (1790)”

เบิร์กวิภาคถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสเอาไว้ว่า ชาวฝรั่งเศสพยายามสร้างสิ่งที่ตนเรียกว่าเสรีภาพด้วยการทำลายล้าง ชาวฝรั่งเศสมุ่งหน้าไปตามความใฝ่ฝันอันเพ้อพกของผู้คนที่อุปโลกน์สร้างตนเองให้เป็นนักปราชญ์ ซึ่งความผิดพลาดเหล่านี้ นำมาซึ่งสภาวะไร้ระเบียบ (อนาธิปไตย) ซึ่งปกครองโดยฝูงชนผู้ตะกละตะกลาม

โธมัส คาร์ไลย์ (1795 – 1881) นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์ชาวสก็อต เขียน “The French Revolution: A History (1837)” บรรยายถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสเอาไว้ว่า ผู้นำของการลุกฮือต่างเป็นคนเหลือขอและโง่เง่า มีแต่ความฝันเฟื่องน่าสงสาร

ในขณะที่อังกฤษนั้น เปลี่ยนผ่านสังคม สร้างสรรค์สิทธิมนุษยชนในสังคมขึ้นมาอย่างเป็นกระบวนการ เป็นขั้นตอน และประนีประนอมกันระหว่างชนชั้น โดยแทบจะไม่มีเหตุการณ์นองเลือดกดขี่ผู้เห็นต่างเลย

เอ็ดมันด์ เบิร์ก (1790) กล่าวว่า หากฝรั่งเศสเลือกที่จะเคารพภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน ก็คงแก้ไขความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสถาบันต่าง ๆ ได้ และบริหารกิจการของตนโดยเสรีได้ราบรื่นเหมือนอังกฤษได้

และข้อพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของการประนีประนอมของอังกฤษ ที่เบิร์กเขียนถึงในปี 1790 นั้น ก็เกิดขึ้นในปี 1815 เมื่ออังกฤษมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสทั้งในยุทธการที่วอเตอร์ลู บีบบังคับให้ฝรั่งเศสยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขได้สำเร็จ

ด้วยเหตุดั่งบรรยายข้างต้นนี้เอง นางมากาเร็ต และเหล่านักวิชาการอังกฤษจึงยืนกรานว่า อังกฤษต่างหากคือต้นแบบของสิทธิมนุษยชนที่ดีกว่า สง่างามมากกว่าและยั่งยืนยิ่งกว่า

แล้วคนไทยเราหล่ะครับ อยากจะได้เสรีภาพ ความเสมอภาคในแบบไหน ? แบบฝรั่งเศสที่ใช้ปืนกดหัวคนเห็นต่าง

หรือแบบอังกฤษที่ประนีประนอม สงบสันติและสง่างาม

อ้างอิง :

[1] D. Vitkauskas, G. Dikov Protecting the Right to a Fair Trial under the European Convention on Human Rights. A Handbook for Legal Practitioners. 2nd Edition, prepared by Dovydas Vitkauskas Strasbourg, Council of Europe, 2017, pages 11-15

[2] Mark Levene (2005). The Rise of the West and the Coming of Genocide. Volume II: Genocide in the Age of the Nation State. I.B. Tauris, London & New York. Chapter 3: The Vendée – A Paradigm Shift? ; p. 104. Retrieved 2 March 2017.

[3] Secher, Reynald. A French Genocide: The Vendee. University of Notre Dame Press, (2003). p. 110 ISBN 0-268-02865-6

[4] Gough, Hugh (1998). The Terror in the French Revolution (2010 ed.). Palgrave. ISBN 978-0-230-20181-1.

[5] พีรวุฒิ เสนามนตรี (พ.ศ.2562), “ปฏิวัติฝรั่งเศส”, สำนักพิมพ์ยิปซี, ISBN 978-616-301-683-6

[6] ดอยล์ วิลเลียม (2019), “ปฏิวัติฝรั่งเศส: ความรู้ฉบับพกพา”, สำนักพิมพ์ บุ๊คสเคป, ผู้แปล ปรีดี หงส์สตัน, ISBN 978-616-8221-91-4

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า