รู้หรือไม่ ? ปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 เคยพยายามยกเลิกการใช้ระบบปฏิทินที่อ้างอิงปีคริสต์ศักราชมาก่อน

สืบเนื่องจากแคมเปญการยกเลิกการใช้เลขไทย ซึ่งมีผู้ให้ความเห็นบางส่วนเพิ่มเติมว่า ควรจะมีการยกเลิกการใช้พุทธศักราช ไปใช้ปีคริสตศักราชแทน และมีการโต้แย้งว่า ปีคริสต์ศักราชเป็นการนับปีของชาวคริสต์ ไม่เกี่ยวอะไรกับชาวพุทธ นั้น

ทราบหรือไม่ ? เคยมีความพยายามที่จะยกเลิกการใช้ปฏิทินแบบ นับปีตามปีคริสต์ศักราช ขึ้นมาจริงจริง และนี่เป็นผลสืบเนื่องมาจาก “การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789” ด้วยนั่นเอง

ก่อนจะเล่าถึงความพยายามที่จะล้มเลิกระบบปฏิทินแบบ ค.ศ. มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ระบบปฏิทิน” กันก่อน

ปฏิทินในโลกนี้ ความจริงแล้วมีอยู่หลายสิบระบบ และระบบที่เกือบทั้งโลกใช้กันนั้นคือระบบ “ปฏิทินกริกอเรียน” นั่นเอง

ปฏิทินแต่ละระบบนั้น ภายในจะมีรายละเอียดการนับเดือน และวันที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะการนับเดือนและวันโดยอ้างอิงดวงอาทิตย์ (สุริยคติ), อ้างอิงดวงจันทร์ (จันทรคติ) หรือ อ้างอิงทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์คู่กัน (สุริยจันทรคติ)

อย่างไรก็ตาม การนับปีของทุกระบบปฏิทิน สิ่งสำคัญคือ “จุดอ้างอิง” ซึ่งจะนับเป็นปีที่ 1 (หรือปีที่ 0 ในบางระบบ)

ซึ่งการนับปีตามปฏิทินแบบพุทธศักราช และคริสต์ศักราชนั้น มีความชัดเจนอยู่ในตัวว่านับเอาเหตุการณ์สำคัญทางศาสนามาเป็นจุดอ้างอิง

พุทธศักราชนับปีที่พระพุทธเจ้าสเด็จปรินิพพานเป็นปีที่ 1 ในขณะที่คริสต์ศักราชนับปีที่พระเยซูทรงประสูติเป็นปีที่ 1

ส่วนปีก่อนหน้า เรียกเป็น “ปีก่อนพุทธกาล” หรือ “ปีก่อนคริสตกาล” ทั้งหมด โดยนับถอยหลัง

ตรงนี้ จะเห็นได้เลยว่า ทั้งสองระบบนี้ ล้วนแต่แอบอิงกับศาสนาทั้งคู่

ซึ่งนี่คือเหตุผลหลักที่คณะปฏิวัติฝรั่งเศสคิดถึง หลังการปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ลง

หลังการปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ และกวาดล้างคริสตจักร จนเป็นที่มาของเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เมืองว้องเด คณะปฏิวัติเริ่มที่ที่จะทำลายล้างทุก ๆ สิ่งที่ “เป็นของเก่า” ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นศาสนา, ระบบการชั่งตวงวัด และระบบปฏิทิน

ซึ่งฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้นก็ใช้ระบบปฏิทินกริกอเรียนแบบเก่า ซึ่งนับปีแบบอิงแอบศาสนา เรียกชื่อเดือนตามชื่อนักบุญและบุคคลสำคัญในประวัติศาสร์หรือตำนานในศาสนาคริตส์ ซึ่งคณะปฏิวัติมองว่าเป็นของเก่าล้าหลัง

เพื่อลบความเชื่อมโยง และความทรงจำของประชาชนที่จะมีถึงระบบเก่า ความเชื่อเก่า ศาสนาเก่า และราชวงศ์เก่าออกไปนั่นเอง

จึงมีการระดมนักวิชาการ เพื่อจัดสร้างระบบปฏิทินระบบใหม่ที่เรียกว่า “ระบบปฏิทินแบบสาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Republican calendar, Calendrier Républicain Français) ขึ้นมานั่น

แต่ความผิดพลาดของการสร้างระบบการจัดระเบียบวันและเดือนในแต่ละปีของระบบปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศสคือ ความพยายามที่จะให้ทุกอย่างสอดคล้องกับแนวคิด “ทศนิยม” (Decimalization) ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เดือนและวันนั้น ขึ้นกับการความสัมพันธ์ของโลก-ดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์

ทำให้การคงอยู่ของปฏิทินชนิดนี้ อยู่ได้ด้วยการใช้อำนาจบังคับใช้โดยรัฐบาลสาธารณรัฐที่ 1 จนกระทั่งเมื่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ถูกโค่นล้มลง การใช้ปฏิทินแบบสาธารณรัฐฝรั่งเศสจึงถูกยกเลิกตามไปด้วยนั่นเอง

จริงอยู่ที่ปฏิทินแบบกริกอเรียน จะเป็นระบบปฏิทินที่ใช้กันเกือบจะทั่วโลก แต่นอกจากประเทศไทยแล้ว ก็มีประเทศอื่นที่ไม่ได้ใช้ปฏิทินกริกอเรียนเป็นปฏิทินราชการด้วยเช่นกัน

ญี่ปุ่น ยังคงนับปีตามแบบดั้งเดิม ที่ใช้การขึ้นครองราชย์ขององค์สมเด็จพระจักรพรรรดิเป็นจุดอ้างอิง โดยปัจจุบัน ปีของญี่ปุ่นตรงกับปี เรวะ (令和) ที่ 4 นั่นเอง

สำหรับประเทศไทยนั้น แต่เดิมทีใช้ปฏิทินตามแบบจันทรคติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นแบบสุริยคติตามอย่างระบบปฏิทินกริกอเรียนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2431

และเปลี่ยนมานับวันปีใหม่จากเดิมที่นับวันที่ 13 เมษายน เป็นวันปีใหม่ มาเป็นการนับวันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่ ในสมัยที่จอมพล ป. เป็นนายก ฯ พ.ศ. 2484 ซึ่งนี่ทำให้ พ.ศ. 2483 ของไทย เป็นปีเดียวที่เดือนในปีเหลือจำนวนเพียง 9 เดือน โดยตัดเดือน มกรา – มีนา ซึ่งแต่เดิมคือสิ้นปีไปนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การนับปฏิทินตามแบบจันทรคติโบราณของไทย ก็ยังมิได้เลือนหายไป แต่ยังคงใช้กับพุทธศาสนา ในการนับวันข้างขึ้น ข้างแรม เพื่อกำหนดวันโกนผม และวันประกอบพิธีทางศาสนาอยู่จนปัจจุบัน

การอนุรักษ์วัฒนธรรม ส่วนหนึ่งคือการรักษาอัตลักษณ์อันเป็นสเน่ห์ของประเทศเอาไว้ให้คนอื่นชื่นชม และให้คนในชาติภูมิใจในเอกลักษณ์ของชาติที่โดดเด่น ไม่เหมือนใครเอาไว้ได้

ท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลงของโลก ในศตวรรษที่ 20 ที่โลกทั้งโลกสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าผ่านการทำสงครามและการล่าอาณานิคมในช่วงต้นศตวรรษ ที่หลายชาติตกเป็นอาณานิคม เสียเอกราช และแพ้สงคราม

มีสักกี่ประเทศกัน ที่สามารถยืนหยัด ผ่านกระแสพายุที่โหมกระหน่ำในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมาได้

ประเทศไทย และจีน คือ 2 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มิได้ตกเป็นเมืองขึ้นของใครในห้วงเวลา 100 ปีนี้

แต่มีเพียงไทยเท่านั้น ที่สร้างระบบปฏิทินสองระบบ ระบบจันทรคติแบบโบราณถูกผูกไว้กับพุทธศาสนา และระบบสุริยคติที่การนับปีอิงศาสนาพุทธ แต่การนับเดือนวันตามแบบสากล

ถือเป็นประเทศเดียวในเอเชียแปซิฟิก ที่รักษาไว้ได้ทั้งเอกราชและระบบปฏิทินของตนเอง

นี่คือความน่าภาคภูมิใจ ที่เราควรจะรักษา และส่งต่อให้ลูกหลานของเราได้ชื่นชม

อ้างอิง :

[1] “ปฏิวัติฝรั่งเศส”, พีรวุฒิ เสนามนตรี (พ.ศ. 2562), สำนักพิมพ์ยิปซี
[2] Gregorian calendar
[3] French Republican calendar
[4] ปฏิทินไทย

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า