มีมานานแล้ว? นักวิชาการฝ่ายซ้าย ‘เห็นอย่างไร’ กับวิทยานิพนธ์ที่ปั้นข้อมูลเท็จหรือลอกมาบางส่วน

วิทยานิพนธ์ปั้นข้อมูลเท็จหรือวิทยานิพนธ์ที่ลอกมาบางส่วน นักวิชาการฝ่ายซ้ายเห็นยังไง

ปัญหาวิทยานิพนธ์ในวงการศึกษาในประเทศไทยดูเหมือนจะเป็นประเด็นร้อนมาได้หลายปีแล้ว โดยเฉพาะตั้งแต่วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)” ของนายณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่ผลสอบวิทยานิพนธ์ยืนยันแล้วว่ามีการบิดเบือนข้อเท็จจริงในไม่นานนี้ซึ่งนำไปอ้างอิงในการเขียน หนังสือ “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” และ “ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี” ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

ล่าสุดก็มีการกรณี องค์กรไม่แสวงหากำไร หรือ NGOที่เคยถูกเปิดเผยว่ารับเงินจากต่างประเทศมาเรื่อยๆ อย่าง iLaw อ้างว่าวิทยานิพนธ์ของ สว.สมชาย แสวงการ นั้นไม่ใส่อ้างอิงและมีการคัดลอกเนื้อหา แม้ภายหลังพบว่ามีการแก้ไขโดยการใส่อ้างอิงให้ถูกต้องแล้วก็ตาม จนสว. สมชาย ออกมายืนยันว่าเขียนวิทยานิพนธ์จริงและประกาศว่าจะฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทแก่ iLaw

และดูเหมือนทุกครั้งที่มีปัญหานักวิชาการฝ่ายซ้ายเหล่านี้ก็มักจะออกมาให้ความเห็นถึงหลักการอยู่เสมอๆ แล้วพวกเขาเหล่านั้นยึดหลักการอะไรกันแน่

ผิด หรือ ไม่ผิด โกงไม่โกง ทางวิชาการกันแน่?

กรณี 1 มันคือการผิดทางมาตรฐานทางวิชการและมันคือการโกง

โดย อ.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 19 เมษายน 2024 ลำดับที่ 141 จาก 279 นักวิชาการที่จี้จุฬาฯหยุดสอบสวนวิทยานิพนธ์ ‘ณัฐพล ใจจริง’พูดถึงกรณีวิทยานิพนธ์ของ สว. สมชาย แสวงการถูก iLaw อ้างว่ามีไม่ใส่อ้างอิงและมีการคัดลอกเนื้อหา

“เรื่อง สว. สมชาย แสวงการ ลอกวิทยานิพนธ์นี่ไม่ใช่แค่ลืมใส่อ้างอิง เพราะต่อให้ใส่อ้างอิง การคัดลอกมาเป็นหน้าๆก็ยังผิดมาตรฐานการทำงานวิชาการอยู่ดี

ตอนนี้เข้าใจว่าทางนิติ มธ ยังไม่มีปฏิกิริยาอะไรออกมา แต่จะชี้ว่า อาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการสอบนั้น จริงๆไม่จำต้องรับผิดในเรื่องการคัดลอก

หน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการก็คือ ดูว่า เนื้อหาของงานถูกต้องสอดคล้องกันสมบูรณ์พอให้ผ่านหรือไม่

ส่วนเรื่องลอกหรือไม่ลอก ปัจจุบันน่าจะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมตรวจจับซึ่งบังคับให้ต้องนำไปตรวจก่อนส่งเล่มอยู่แล้ว

เรื่องแค่นี้ก็น่าจะจบ ถ้าไม่ใช่หลายปีมานี้ มีความพยายามในกลุ่มสลิ่มนี่ล่ะ ที่อ้างว่า อาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการต้องรับผิดชอบทุกอย่างที่ผู้เขียน วพ. เขียนลงไป เชิงอรรถผิดนิดผิดหน่อย การตีความไม่ตรงใจ ล้วนต้องลงโทษอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งสิ้น

ถ้าใช้มาตรฐานเดียวกับที่จุฬาพยายามจะใช้กับณัฐพล ใจจริง อาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการสอบ วพ. ก็คงต้องผิดกันไปหมด

ฝรั่งเขาเรียกว่า paint themselves into the corner คือ ต้อนตัวเองเข้ามุมกันเองแท้” [1]

นอกจากนี้ยังมีการตอบคอมเม้นจากคอมเม้นว่า

“แต่โปรแกรมตรวจจับ…บางทีก็หาไม่เจอนะพี่ จริงๆ”

และอ.เข็มทองก็ได้ตอบว่า

“หาไม่เจอก็ไม่ว่าไง เพราะว่ามันเป็นแค่การคัดกรอง แต่ลอกก็คือลอก ไม่ได้เปลี่ยนให้ไม่ผิด เพราะการลอกมันต้องตั้งใจ เหมือนโกงข้อสอบแล้วจับไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าไม่โกง”

ยืนยันอย่างหนักแน่นว่าวิทยานิพนธ์ที่มีการลอกกันหรือที่มีปัญหานั้นก็คือการ ‘โกง’

กรณี2 เป็นเรื่องปกติไม่ใช่ปัญหาทางวิชาการ

แม้อ.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง ได้วิจารณ์ไปแล้วว่ามันคือความผิดและคือการโกง ถึงอย่างไรก็ดีมีความเห็นเชิงที่ว่าปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงอะไรเป็นเรื่องปกติในวงการวิชาการหรือวงการศึกษา

โดย

อ. เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 4 มกราคม 2021 พูดถึงกรณืวิทยานิพนธ์ที่มีการสร้างข้อมูลเท็จของ ณัฐพล ใจจริง ที่ผลสอบวิทยานิพนธ์ยืนยันภายหลังแล้วว่ามีการบิดเบือนข้อเท็จจริง

“Magnum opus ของพวกคุณจะเขียนตอนอายุสี่สิบกว่าๆ

นี่คือสิ่งที่ ผอ. หลักสูตรปริญญาเอกบอกไว้ตอนปฐมนิเทศน์หลายปีก่อน เพื่อเตือนสติให้นักศึกษาใหม่เข้าใจว่าปริญญาเอกที่ตนเองกำลังจะทำคืออะไร

มันไม่ใช่งานสมบูรณ์แบบสุดยอดแน่ๆ มันเป็นงานวิจัยขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่หลายคนเคยทำมาในชีวิตตอนนั้น เกือบๆแสนคำ เชิงอรรถร่วมพัน บรรณานุกรมนับร้อยๆ ภายใต้เวลาจำกัดมากๆ 4-6 ปี แล้วคนเขียนเองก็อยู่ใต้ความกดดันนานาชนิด บางคนเงินหมดกลางทางต้องไปนอนห้องสมุดร่วมเดือนก็มี บางคนเขียนไปซึมเศร้าไป หรือติดเหล้าต้องกินเบียร์ระหว่างพิมพ์ก็มี

หลังจากเรียนจบ หลายคนได้กลับไปอ่านงานตัวเอง พบข้อผิดพลาดมากมาย อ้างอิงผิด ตีความแหล่งข้อมูลผิด พิมพ์ผิด ลิงค์เสีย บางความผิดเป็นความรับผิดชอบตัวเอง บางอย่างเป็นเรื่องนอกการควบคุม

แต่ที่จบกันมาได้เพราะงานถึงมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด หลังจากนั้นเป็นเรื่องของแต่ละคนจะจัดการงานตัวเองอย่างไร

บางคนเอาไปปรับปรุงเป็นหนังสือก็มี บางคนเอาไปแตกย่อยเป็นบทความหลายๆบท บางคนโยนทิ้งแล้วไปเริ่มโครงการใหม่ บางคนเอาไปเผาทิ้งก็มี

วพ. ปริญญาเอกมันก็แค่นี้จริงๆ ไม่ได้เลิศเลอ แต่ก็ได้มาตรฐาน” [2]

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ’ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลำดับที่ 2 จาก 279 นักวิชาการที่จี้จุฬาฯหยุดสอบสวนวิทยานิพนธ์ ‘ณัฐพล ใจจริง’ พูดถึงกรณีวิทยานิพนธ์ที่มีการสร้างข้อมูลเท็จของ ณัฐพล ใจจริง ที่ผลสอบวิทยานิพนธ์ยืนยันภายหลังแล้วว่ามีการบิดเบือนข้อเท็จจริง

“เสรีภาพก็ต้องมีขอบเขต มันไม่ใช่ทำอะไรก็ได้ ไม่ใช่พูดได้ตามใจคือไทยแท้ อะไรแบบนั้น ไม่ใช่แน่ๆ เพราะฉะนั้นก็ต้องอ้างอิงข้อมูล แต่ในกรณีนี้ส่วนที่มีปัญหาเชิงอรรถ อาจารย์ณัฐพลก็ขอแก้ไขกับทางจุฬาฯ แล้ว ถ้าจะยกเฉพาะกรณีขึ้นมาก็เฉพาะกรณีนี้”

“ในส่วนหนึ่งผมคิดว่าอาจารย์ณัฐพลเขาก็ยอมรับไปแล้วเรื่องเชิงอรรถก็น่าจะจบ ถ้าในประเทศที่เป็นอารยะแล้ว เป็นประชาธิปไตยแล้ว เรื่องนี้จะเป็นเรื่องเล็ก อาจจะขอโทษและชี้แจงข้อเท็จจริงแล้วเรื่องก็จบ แต่กรณีนี้การที่ไม่จบเพราะมีความขัดแย้งกันซึ่งอยู่ลึกมาก ไม่ใช่ประเด็นวิชาการเพียวๆ แต่เป็นความขัดแย้งเรื่องตัวบุคคลด้วย” [3]

ผศ.ดร. เอกก์ ภทรธนกุล ผู้ช่วยอธิการบดีด้านสื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กล่าวกับบีบีซีไทยกรณีวิทยานิพนธ์ที่มีการสร้างข้อมูลเท็จของ ณัฐพล ใจจริง ที่ผลสอบวิทยานิพนธ์ยืนยันภายหลังแล้วว่ามีการบิดเบือนข้อเท็จจริง

“แม้ไม่มีจดหมายฉบับนี้ เราก็ต้องใช้หลักการสากลในการพิจารณาอยู่แล้ว เช่น ถ้าเป็นกรณีการคัดลอกงาน จะลอกน้อยลอกมากก็คือลอก แต่กรณีกระทบความถูกต้องเหมาะสมและอื่น ๆ ที่อาจนำไปสู่การถอดถอน (ปริญญา) ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะตอบคำถามได้ว่าจะนำไปสู่การถอดถอนหรือไม่ถอดถอน ถึงตอนนั้นทุกความกังขาคาใจจะหมดไป” [4]

แม้จะเป็นนักวิชาการฝ่ายซ้ายเหมือนกันแต่ดูเหมือนว่าจะมีบางคนมีความเห็นแตกต่างกัน หากอ้างอิงตามหลักที่นักวิชาการเหล่านี้อ้างมาแล้ว คิดว่ากรณี วิทยานิพนธ์ที่มีการสร้างข้อมูลเท็จของ ณัฐพล ใจจริง ที่ผลสอบวิทยานิพนธ์ยืนยันภายหลังแล้วว่ามีการบิดเบือนข้อเท็จจริง กับ วิทยานิพนธ์ถูกอ้างว่าไม่มีอ้างอิงและลอกมาบางส่วน ของสว.สมชาย แสวงการ ควรจัดการยังไงไม่ให้ ‘ย้อนแย้ง’ ในหลักการ

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า