‘ที่ดินวชิราวุธวิทยาลัย’ ส่งต่อความมั่งคั่งสู่ความมั่นคงทางการศึกษาให้กับคนไทย

โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มต้นจากการที่พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งถอดแบบการศึกษาแบบ Public School มาจากอังกฤษ มีการกำหนดให้โรงเรียนบริหารจัดการโดยคณะกรรมการ และมีทรัพย์สินเป็นของตัวเอง ซึ่งทรัพย์สินของโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย มาจากพระราชทรัพย์ของในหลวง ร.6 กับส่วนของเจ้านายข้าราชการและพสกนิกร ที่ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จในการพระราชกุศล เป็นที่ดินไม่น้อยกว่า 19 แปลง เนื้อที่ประมาณ 220 ไร่ กับสิ่งปลูกสร้างเป็นห้องแถวประมาณ 60 ห้อง

สำหรับการจัดการทรัพย์สินของโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในหลวง ร.6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ กรมพระคลังข้างที่ เป็นผู้บริหารจัดการแทน เพราะฉะนั้นการถือครองทรัพย์สินทางทะเบียน จึงเป็นการถือครองในพระปรมาภิไธย

ต่อมาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลพระยามโนปกรณ์ได้ออกกฎหมายเพื่อเข้ามาครอบงำการจัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทำให้ทรัพย์สินที่ในหลวง ร.6 พระราชทานให้กับวชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งดูแลอยู่โดยสำนักงานพระคลังข้างที่ ตกอยู่ภายใต้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี

และในช่วงปี พ.ศ. 2480 สมาชิกของคณะรัฐบาลหลายคน ทั้งผู้มีตำแหน่งทางการเมืองและไม่มีตำแหน่งทางการเมือง ได้อาศัยช่วงเวลานี้นำที่ดินในพระปรมาภิไธยมาขายกันเองในราคาถูก ๆ และต่อมาได้ถูกตีแผ่ลากไส้ในสภา โดยการยื่นอภิปรายของนายเลียง ไชยกาล ส.ส.อุบลราชธานี จึงทำให้ช่วยรักษาทรัพย์สินเหล่านั้นไว้ได้ แต่ก็มีบางส่วนได้ถูกโอนถ่ายไปเป็นทรัพย์ส่วนตัวของกลุ่มคณะราษฎร และส่งผลเป็นความขัดแย้งมาจนถึงทุกวันนี้จากกรณี ข้อพิพาทเรื่องมรดกลูกหลานคณะปฏิวัติ ที่มาจากการฮุบทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์

เมื่อในหลวง ร.10 เสด็จขึ้นครองราชย์ ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ไม่กี่เดือนต่อมา ช่วงกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการออก พรบ.จัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 แล้วปลายปีนั้นเอง สำนักราชเลขาธิการได้แจ้งให้โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยส่งโฉนดที่ดินกลับมา เพื่อนำไปเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไปเป็นการถือครองในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ช่วงนั้นเกิดกระแสข่าวลือบิดเบือนมากมายจากกลุ่มที่ต้องการโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ ว่าการโอนทรัพย์สินของโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย มาเป็นพระปรมาภิไธยในหลวง ร.10 เป็นเพราะพระองค์ต้องการโอนมาเป็นพระราชทรัพย์ของพระองค์เอง ตรงนี้แม้แต่คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์โรงเรียน ก็ยังไม่ทราบถึงพระราชประสงค์ที่แท้จริงของพระองค์ท่าน

จนสุดท้าย “ความจริง” ก็ปรากฏ และกลบลบกระแสข่าวลือบิดเบือนทั้งหมด

พรบ.จัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ได้ให้อำนาจการจัดการทรัพย์สินแก่ในหลวง ร.10 ทำให้ทรงสามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โรงเรียนได้ เพื่อให้โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยสามารถบริหารจัดการ รวมทั้งถือครองทรัพย์สินไว้ในนามของโรงเรียนเอง และต่อมาวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ในหลวง ร.10 ได้พระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้แทนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เข้ารับพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย เพื่อประโยชน์ในกิจการของโรงเรียนสืบไป

ถึงแม้ว่าข่าวที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะระบุแค่ว่าเป็นการพระราชทานโฉนดที่ดินในเขตปทุมวัน เนื้อที่ 67 ไร่ เพียงแปลงเดียวเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ทรัพย์สินที่พระองค์พระราชทานจริง มีจำนวนมากกว่าที่ปรากฎในราชกิจจานุเบกษาหลายเท่าตัว โดยทรัพย์สินที่วชิราวุธวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากในหลวง ร.10 เป็นที่ดินราว ๆ 10 แปลง มีเนื้อที่รวมไม่น้อยกว่า 180 ไร่ โดยมีที่ดินแปลงใหญ่ 2 ผืน คือแปลงที่เป็นที่ตั้งโรงเรียน เนื้อที่ 99 ไร่ กับที่ดินริมถนนราชดำริ 67 ไร่

นอกจากที่ดินมากกว่า 10 แปลงนี้แล้ว ยังมีอสังหาริมทรัพย์เป็นห้องแถวราว 60 ห้อง นับเฉพาะที่ดินริมถนนราชดำริแปลงเดียว ก็มีมูลค่า 60,000 ล้านบาทแล้ว ถ้ารวมสิ่งปลูกสร้างเข้าไปด้วย เรียกได้ว่ามีมูลค่าเฉียดแสนล้านบาทเลยทีเดียว นอกจากนี้พระองค์ยังได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนที่เป็นเงินสด และพันธบัตร เป็นเงินกว่า 4,000 ล้านบาท รวมทั้งหุ้นบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 ล้านหุ้น มูลค่าอีกกว่า 2,500 ล้านบาท

เรียกได้ว่า วชิราวุธวิทยาลัย เป็นโรงเรียนที่มีความมั่งคั่งมากที่สุดในประเทศไทย และทรัพย์สินที่ได้รับพระราชทานนั้น ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาของประชาชนอย่างแท้จริง ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงสถาปนาโรงเรียน กับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดสิ่งดี ๆ ที่ในหลวงรัชกาลก่อนได้สร้างไว้ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวสยาม

อ้างอิง :

[1] บทความ “ทรัพย์สินพระราชทานสำหรับวชิราวุธวิทยาลัย” โดยบรรยง พงษ์พานิช
[2] ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์. ศึกชิงพระคลังข้างที่ 2475 จากปล้นพระราชทรัพย์ถึงคดีสวรรคต ร.8, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์. 2564
[3] เสทื้อน ศุภโสภณ. ชีวิตทางการเมืองของ พ.อ.พระยาฤทธิ์อาคเนย์, กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์วัชรินทร์. 2514
[4] รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 12 กระทู้ถาม เรื่อง ที่ดินของพระมหากษัตริย์ ของนายเลียง ไชยกาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถามนายกรัฐมนตรี 27 กรกฎาคม 2480
[5] รายงานการประชุมกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย ครั้งที่ 57 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เรื่องการขายที่ดินบริเวณถนนราชดำริให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา
[6] พรบ.ว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2477
[7] พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479
[8] พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2484 (ฉบับที่ 2)
[9] พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491 (ฉบับที่ 3)
[10] พรบ.จัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560
[11] พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561
[12] ข่าวในพระราชสำนัก วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 16 ข หน้าที่ 642 วันที่ 6 มิถุนายน 2561

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า