ฉันจะไปเรียนหมอละ เพราะว่าเป็นวิชาที่สนุกดี เรามีโอกาสรักษาคนได้ทั้งคนจน คนมั่งมี และเจ้านายต่างๆ ได้เต็มที่ หมอทำการกุศลในการรักษาพยาบาลได้ดี

“ฉันชอบวิชาปกครอง แต่ฉันไม่เรียน เพราะวิชาดังกล่าว เป็นวิชาที่ฉันมองเห็นแล้วว่า ล้วนแต่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ยังความทุกข์ร้อนให้แก่ผู้อื่น ฉันเกิดเป็นคน ควรจะทำให้ตนมีค่า หมายถึงว่า ทำตนให้เป็นที่หลั่งออกเพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่น ให้ผู้อื่นได้รับความสุขจากเรา ฉะนั้น ฉันจึงเลือกเรียนวิชาแพทยศาสตร์”

“ฉันจะไปเรียนหมอละ เพราะว่าเป็นวิชาที่สนุกดี เรามีโอกาสรักษาคนได้ทั้งคนจน คนมั่งมี และเจ้านายต่างๆ ได้เต็มที่ หมอทำการกุศลในการรักษาพยาบาลได้ดี”

พระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเสด็จไปทรงศึกษาด้านการสาธารณสุขและด้านการแพทย์ จนนำไปสู่…หมอเจ้าฟ้า

เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เสด็จนิวัตประเทศไทย หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารเรือ จากโรงเรียนนายเรือ Imperial German Naval College ประเทศเยอรมณี และทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2458

ขณะนั้นการแพทย์ของไทย ยังคงล้าหลังเป็นอย่างมาก แม้แต่ศิริราชพยาบาลก็ยังมีที่ไม่พอรับคนไข้ ขัดสนทั้งอุปกรณ์และบุคคลากรทางการแพทย์ อีกทั้งโรงเรียนแพทย์ก็ขาดแคลนอาจารย์ผู้มีวิชาความรู้ เมื่อเทียบกับโรงเรียนในยุโรป

หลังจากทอดเพระเนตรเห็นความยากลำบากเหล่านี้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลจึงตัดสินพระทัยที่จะทรงปรับปรุงการแพทย์ของประเทศไทย โดยจะเสด็จไปทรงศึกษาวิชาเฉพาะให้ได้ผลงานจริงๆ เพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมือง

และนี่คือก้าวแรกของการวางรากฐาน เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ ตลอดจนการพัฒนาระบบสาธารณสุขของไทย ให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ

หลังจากพระองค์สำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์และเสด็จนิวัตประเทศไทย ทรงรับเป็นอาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทรงบรรยายในชั้นเรียนและนำนิสิตไปทัศนศึกษานอกสถานที่ด้วยพระองค์เองอีกด้วย ต่อมาในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2472 พระองค์ได้เสด็จฯ ไปทรงงานในฐานะแพทย์ประจำ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีความเอาใจใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก จนชาวเมืองเชียงใหม่ต่างขนานพระนามของพระองค์ว่า “หมอเจ้าฟ้า”

พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจไว้มากมาย ทรงอุทิศทั้งพระราชทรัพย์ พระวรกาย และพระสติกำลังเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ และพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ต่อมาการแพทย์ของไทยพัฒนาแบบก้าวกระโดดขึ้นสู่ระดับสากลในเวลาเพียง 10 กว่าปี นำไปสู่การวางรากฐานให้แก่วงการแพทย์และการสาธารณสุขมาจนถึงปัจจุบัน

โดย Prof.A.G.Ellis นายแพทย์ชาวอเมริกัน ผู้เข้ามาช่วยปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการแพทย์ในไทย ได้สดุดีสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรไว้ในหนังสือ “พระกรณียกิจปฏิบัติของสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (C.P.H., M.D.) ที่ทรงอุปการะการแพทย์ในกรุงสยาม” มีใจความตอนหนึ่งว่า …

การที่พระองค์อุบัติมาในโลกนี้นั้น ทำให้โลกนี้ดีขึ้นเป็นแน่แท้

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า