จริงหรือไม่? เปิดรูปถ่ายประวัติศาสตร์! ยอดตึกเอ็มไพร์สเตทถูกออกแบบให้เป็นที่จอดเรือเหาะกลางเมือง ซึ่งผู้โดยสารสามารถลงสู่พื้นถนนแมนฮัตตันได้ภายใน 7 นาที

เมื่อ ‘เรือเหาะ’ คือเทคโนโลยีสุดแจ๋วในยุค 1930 ซึ่งมันสามารถเดินทางระยะไกลอย่างการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้อย่างสบาย ๆ ท่ามกลางความหรูหราดุจโรงแรมลอยฟ้า เห็นได้จากประโยคทองของผู้โดยสารคนหนึ่งที่กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า

“บนเครื่องบินคุณแค่บินได้ แต่บน ‘กราฟ เซปเปลิน’ คุณได้เดินทาง”

อารมณ์ประมาณว่าหากคุณเดินทางด้วยเรือเหาะ คุณจะได้เสพสุนทรียรสของการเดินทางอย่างครบถ้วน คุณจะได้เห็นก้อนเมฆค่อย ๆ เปลี่ยนรูป ได้เห็นฝูงนกบินสวนทางไป หรือกระทั่งวิวยอดไม้ที่จะทำให้คุณหลงใหล โดยที่หน้าต่างเครื่องบินคับแคบเกินไป รวมถึงเพดานบินที่สูงลิ่ว ทำให้คุณจะไม่มีวันสัมผัสประสบการณ์ล้ำค่าแบบนั้นได้นั่นเอง ฟังแล้วช่างคลาสสิค

‘กราฟ เซปเปลิน’ คือเรือเหาะสัญชาติเยอรมัน มันคือดาราตัวจริงแห่งยุค ดึงดูดผู้คนกว่าครึ่งแสนไปรวมตัวกันเพื่อรอชมความอลังการของมันที่ทุ่งเลคเฮิร์สท์ นิวเจอร์ซีย์ ในเดือนสิงหาคมปี 1928 แม้ว่าเจ้าเรือเหาะยักษ์จะดีเลย์ไปหนึ่งวันเนื่องจากสภาพอากาศที่แสนเลวร้าย แต่ผู้คนนับล้านระหว่างเส้นทางเหนือวอชิงตัน ดี.ซี. ผ่านบัลติมอร์และนิวยอร์ก ซิตี ก็เฝ้ารอดูมันด้วยความตื่นเต้น การเดินทางโดยเรือเหาะนั้นถือเป็นประสบการณ์ราคาแพง เพราะสนนราคาตั๋วข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกแบบไปกลับนั้นสูงถึง 3,000 ดอลลาร์ หรือถ้าตีค่าเป็นเงินปัจจุบันก็เท่ากับ 40,000 ดอลลาร์! ในขณะที่ราคาตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดบินจากนิวยอร์กซิตีไปลอนดอนวันนี้อยู่ที่ 600 ดอลลาร์เท่านั้น

แต่มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เมื่อเกิดกระแสยืนยันว่าตึกเอ็มไพร์ สเตท นั้นเคยถูกหมายมั่นให้เป็น ‘สถานีเรือเหาะ’ เท่าที่ดูแล้วก็เข้าท่า เพราะในขณะนั้นตึกสูงไม่ได้มีมากนัก การจอดเรือเหาะและถ่ายคนลงที่ยอดตึกและลำเลียงสู่ใจกลางเมืองนิวยอร์กได้ทันที ฟังแล้วก็เป็นโซลูชันที่ดีไม่หยอก

ประเด็นนี้มีข้อมูลที่รองรับสองอย่างทำให้มันแข็งแกร่งน่าเชื่อถือ อย่างแรกคือรายงานจาก เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ ในปี 1929 ใจความว่า อัลเฟรด อี. สมิธ อดีตนายกเทศมนตรีนิวยอร์กและหัวหน้ากลุ่มลงทุนที่สร้างตึกเอ็มไพร์ สเตทออกมาประกาศว่า ตึกเอ็มไพร์ สเตทมีแผนการที่จะสร้างส่วนต่อขยายขึ้นไปด้านบนอีก 200 ฟุต เพิ่มจากชั้นที่ 102 เพื่อติดตั้งอุปกรณ์สำหรับจอดเรือเหาะ โดยมีทางลงจากลำเรือด้วยสะพานไม้ โดยมีจุดขายหลักก็คือผู้โดยสารเหล่านั้นสามารถลงไปสู่ถนนแมนฮัตตันได้โดยใช้เวลาแค่ 7 นาที!

อย่างที่สองคือหลักฐานที่ชัดเจนกว่านั้น นั่นคือรูปถ่าย ซึ่งเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์สอดคล้องกับคำพูดของอัลเฟรดเป๊ะ ในภาพถ่ายขาวดำเป็นภาพซูมใกล้ที่ยอดต่อขยาย หัวของเรือเหาะถูกผูกเอาไว้กับยอดตึกด้วยเชือกแบนขนาดใหญ่ ถัดลงมาด้านล่างเป็นช่องเปิด และมีทางเดินไม้เชื่อมเข้าสู่ตัวลำเรือ โดยมีผ้าใบปิดด้านข้างตลอดด้านสูงเพื่อความปลอดภัย โดยภาพถ่ายนี้ถูกเผยแพร่โดย อินเตอร์เนชันแนล นิวส์ โฟโตส์ ในปี 1930

แต่รู้หรือไม่ว่าภาพถ่ายนั่นไม่ใช่ของจริง! แล้วความจริงเป็นอย่างไร? เรามาดูกัน

ทันทีที่อัลเฟรดออกแถลงการณ์เรื่องจุดจอดเรือเหาะ ดร.ฮูโก เอคเคเนอร์ ผู้บัญชาการเรือเหาะ กราฟ เซปเปลิน ได้ออกมาโต้ผ่านนิตยสารไทมส์ว่า ‘เป็นไปได้ยาก’ เพราะลำพังการจอดเรือเหาะบนภาคพื้นดินตามปกตินั้นก็ต้องใช้ลูกเรือหลายสิบคนแล้วรวมถึงเชือกในการปฏิบัติการอีกเพียบ นั่นขนาดใช้คนกับอุปกรณ์ขนาดนั้นเรือเหาะก็ยังเซไปมาจนแทบกลิ้งเหมือนลูกเต๋า ซึ่งนับประสาอะไรกับบนอากาศสูง 1,250 ฟุต ซึ่งลมแรงกว่าบนพื้นไม่รู้กี่สิบเท่า

นี่ยังไม่ได้พูดถึงการลำเลียงผู้โดยสารผ่านสะพานไม้ ซึ่งต่อให้ไม่มีลมพัด บนความสูงขนาดนั้นกับเซฟตีที่ไม่ได้พูดถึงก็ไม่ต่างอะไรจากการฆ่าตัวตาย ดร.ฮูโก ทิ้งท้ายบทสัมภาษณ์ไว้ว่า “ความเชื่อของพวกขอทาน” สร้างเรื่องเพื่อให้ตึกของตนมีมูลค่าเฉือนชิ้นเนื้อของอัลเฟรดแบบแสบ ๆ คัน ๆ

แต่กระนั้นหอคอย 200 ฟุตก็ถูกสร้างขึ้นจริง ๆ นะ! มาดูการล้มเหลวของโครงการนี้เป็นข้อ ๆ กัน

ล้มเหลวแรก: ในช่วงที่สร้างหอคอยเสร็จ มีการตรวจสอบก่อนเปิดใช้งานจริงในเดือนธันวาคม 1931 โดยใช้เรือเหาะ เจ-14 ของกองทัพเรือสหรัฐบินรอบ ๆ หอคอย ผลการทดสอบคือลมในบริเวณนั้นแรงกว่า 30 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งอยู่ในเกณฑ์อันตรายและเข้าใกล้ได้ยากมาก

ล้มเหลวสอง: การทดลองที่ใกล้เคียงที่สุดคือการเทียบจอดสำเร็จได้นานถึง 3 นาที ท่ามกลางความเร็วลม 40 ไมล์ต่อชั่วโมง โดยเรือเหาะ กูดเยียร์ บลิมป์ โคลัมเบีย ซึ่งการจอดครั้งนั้นได้ทำการลำเลียงหนังสือพิมพ์กรอบเย็นหย่อนลงไปในระยะ 100 ฟุตให้กับชายคนหนึ่งที่ยืนอยู่ที่หอคอย ซึ่งจะตัดเชือกและรับหนังสือพิมพ์เหล่านั้นนำไปแจกจ่ายให้กับคนในตึก ซึ่งเวิร์คแค่วันเดียวเพราะในวันถัดมาพวกเขาลองเพิ่มจำนวนหนังสือพิมพ์ให้มากขึ้น แต่สุดท้ายก็ล้มเหลว และนั่นก็น่าจะเป็นความพยายามสุดท้ายอย่างเป็นทางการของการทำหน้าที่เป็นจุดจอดเรือเหาะของตึกเอ็มไพร์ สเตท

ล้มเหลวสาม: ไม่ใช่แค่ล้มเหลวแค่ในส่วนเรือเหาะ ในภาคของผู้โดยสารก็สยดสยองไม่แพ้กัน เพราะเมื่อคุณขึ้นไปบนนั้น เปิดประตูแล้วเดินขึ้นไปที่ห้องทรงกลมกว้าง 25 ฟุต เดินออกจากประตูอีกด้านไปสู่ระเบียงด้านนอกซึ่งเป็นวงกลมรอบหอคอย ลองจินตนาการดูว่าผู้โดยสารที่เดินทางจากยุโรปหรืออเมริกาใต้จะเข้าสู่ดินแดนอเมริกาจากที่นั่น บนระเบียงที่กว้างแค่ 2 ฟุตครึ่ง สูงแค่เลยหัวเข่ามานิดหน่อย นั่นอาจเป็นสถานที่สุดท้ายในชีวิตของนักท่องเที่ยวหลาย ๆ คนก็เป็นได้

ล้มเหลวสี่: สิ่งที่ทำให้โครงการจุดจอดเรือเหาะก็ล่มสลายอย่างสมบูรณ์คือตัวเรือเหาะเองที่ไม่ได้รับการพัฒนาต่อ (ในฐานะขนส่งมวลชน) เรื่องของเรื่องคือข้อเสียของมันมีมากเกินไปโดยเฉพาะเรื่องอุบัติเหตุในฮินเดนเบิร์ก รวมไปถึงการเดินทางด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นรวดเร็วและปลอดภัยกว่า ที่สำคัญคือราคาถูกกว่ากันแบบไม่เห็นฝุ่น เรือเหาะจึงต้องถอยความสำคัญลงไปเป็นแค่เอาไว้เป็นสื่อโฆษณาหรือการแข่งขันกีฬาเท่านั้น

ล้มเหลวห้า: ภาพถ่ายการจอดเรือเหาะที่เคยเป็นที่ฮือฮาในวันนั้นถูกพิสูจน์ได้ว่าเป็น ‘ภาพปลอม’และมันถูกนำไปจัดแสดงร่วมกับภาพปลอมอื่น ๆ อีก 200 ภาพในงานแสดง ภาพหลอก:การตัดต่อภาพถ่ายก่อนยุคโฟโตชอป ที่จัดแสดงที่ เนชันแนล แกลเกอรี ออฟ อาร์ต ซึ่งจัดแสดงในช่วงพฤษภาคมในปี 2013

สรุปได้ว่าโครงการท่าจอดเรือเหาะของตึกเอ็มไพร์ สเตทนั้นเป็นแค่แผนการตลาดที่โหนเรือเหาะเท่านั้น โดยไม่ได้ใส่ใจพัฒนาให้มันเกิดขึ้นจริงได้เลย (จริง ๆ ก็น่าจะล้มเหลวตั้งแต่คิดแล้ว) แต่สิ่งที่เป็นผลพลอยได้ของหอคอยที่ต่อเติมเพิ่มก็คือเป็นส่วนที่ทำให้ตึกเอ็มไพร์ สเตท เคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลก ณ เวลานั้นได้สำเร็จ (นั่นอาจเป็นเป้าหมายจริงก็ได้)

เรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า คำพูดของคนที่น่าเชื่อถือบางคนอาจเป็นเพียงแค่การสร้างภาพเพื่อผลประโยชน์ บางคนพูดจาสวยหรูวาดโครงการใหญ่โตประดับประดากับประโยคที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง แต่มันอาจเป็นแค่คำลวงโลกก็ได้

นี่พูดถึงเรื่องตึกเอ็มไพร์ สเตทกับจุดจอดเรือเหาะ ที่หลอกคนไปได้เกินครึ่งโลก แต่แท้ที่จริงเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ตึกมีมูลค่ามากขึ้นด้วยการ ‘โหน’ เรือเหาะเท่านั้น

ไม่ได้พูดถึงเรื่องการเมืองไทยแต่อย่างใดครับผม

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า