“คอมมิวนิสต์กลายพันธุ์” เบื้องหลังคำว่าประชาธิปไตย ที่ใช้คนรุ่นใหม่เป็นเครื่องมือ

กระแสเรียกร้องทางการเมืองในปัจจุบัน เรามักจะเห็นการชูประเด็นความเท่าเทียม และต่อต้านการกดทับ ตลอดจนลดช่องว่างของชนชั้น จนเลยเถิดนำไปสู่การมุ่งโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากมองเพียงผิวเผินคือการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนรุ่นใหม่

แต่ถ้าเราสืบสาวไปยังต้นตอ แล้วมองลึกลงไป จะพบว่านี่คือความพยายามอีกครั้งของกลุ่ม “คอมมิวนิสต์กลายพันธุ์” ที่ถูกดับฝันมาตั้งแต่ครั้งเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ คือเหล้าเก่าในขวดใหม่ของกลุ่มฝั่งซ้ายอกหัก ที่พยายามกลับมาผลักดันเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงประเทศ ให้เป็นไปในแบบที่พวกเขาต้องการ

ถ้ามองย้อนกลับไป เราจะพบข้อเท็จจริงว่า แท้จริงแล้ว เป้าหมายที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยต้องการทำลายคือ “รัฐบาลทหาร” ไม่ใช่ “สถาบันพระมหากษัตริย์” หากจะพูดให้ชัด ๆ คือ คอมมิวนิสต์ไม่เคยเห็นเจ้าอยู่ในสายตาเลย สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ศัตรูของคอมมิวนิสต์ เพราะนับตั้งแต่ เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจในการปกครองประเทศ แม้ว่าในยุคของจอมพลสฤษดิ์ จะเริ่มให้พระมหากษัตริย์มีบทบาทมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่อำนาจเด็ดขาดก็ยังอยู่ที่จอมพลสฤษดิ์

ดังนั้น เหตุผลหลักที่พรรคคอมมิวนิสต์มุ่งโจมตีเฉพาะรัฐบาลทหาร คือ

  1. อำนาจการปกครองอยู่ที่รัฐบาล ซึ่งต้องยอมรับว่า ในขณะนั้นรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ มีอเมริกาหนุนหลังอยู่ เนื่องจากประเทศโดยรอบได้ถูกคอมมิวนิสต์กลืนกินไปจนหมดแล้ว
  2. พระมหากษัตริย์ไม่มีบทบาทและอำนาจในการปกครองประเทศ
  3. การมุ่งโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ จะไม่เป็นผลดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ เพราะนอกจากจะไม่เกิดผลในการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แล้ว พระมหากษัตริย์ยังคงได้รับความศรัทธาจากประชาชนทั่วไปอยู่

แต่หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นยุคสิ้นสุดของอำนาจเผด็จการทหาร พระมหากษัตริย์เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมมากขึ้น ดังนั้นกลุ่มคอมมิวนิสต์จึงเบนเป้าการโจมตีมาที่สถาบันพระมหากษัตริย์ และมุ่งโจมตีระบอบชนชั้นที่มีจักรวรรดินิยมหนุนหลังนั่นคือ “อเมริกา”

ซึ่งการมุ่งโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น “ไม่ใช่” จุดมุ่งหมายดั้งเดิมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเลย

จนกระทั่งมาถึงช่วงก่อน 6 ตุลาฯ กลุ่มฝ่ายซ้ายหรือกลุ่มฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ เริ่มโจมตีฝั่งตรงข้ามอย่างรุนแรง (ดังเช่นเหตุการณ์ทำร้ายผู้ประกาศข่าววิทยุโดยกลุ่มฝ่ายซ้าย) ซึ่งเรียกได้ว่าเกิด “ซ้ายพิฆาตขวา” ขึ้นมาก่อน “ขวาพิฆาตซ้าย” เสียด้วยซ้ำ ในที่สุดกลุ่มฝั่งขวาจึงเริ่มสร้างฐานมวลชนขึ้นต่อต้าน โดยจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงของรัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ไม่สามารถควบคุมความขัดแย้งนี้ได้ ประกอบกับในขณะนั้นประเทศต่าง ๆ ทั้งเวียดนาม ลาว กัมพูชา ต่างถูกยึดครองโดยคอมมิวนิสต์ไปจนหมดสิ้น อเมริกาจึงได้ให้การสนับสนุนประเทศไทยอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้ถูกกลืนโดยคอมมิวนิสต์ ซึ่งปัจจัยหลายอย่างนี้ ได้ผสานรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์นองเลือดในประวัติศาสตร์

6 ตุลาคม 2519 แม้นักศึกษาที่ออกมาชุมนุมส่วนใหญ่ ต้องการเพียงต่อต้านรัฐบาลและการกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร แต่ทว่ามีมวลชนบางกลุ่มที่ฝักใฝ่ในคอมมิวนิสต์และยังมุ่งโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนมีการคุกคามพระราชวงศ์เกิดขึ้น จนกระทั่งนักศึกษาส่วนใหญ่เตรียมถอนตัวจากการชุมนุม แต่สุดท้ายกลับเกิดเหตุปะทะขึ้นเสียก่อน จากฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจและมวลชนฝั่งขวา (กลุ่มกระทิงแดง, กลุ่มนวพล) ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

อีกทั้งขณะนั้น ยังมีการเตรียมการรัฐประหารจากกลุ่มนายทหารขวาจัดนั่นคือกลุ่มพลเอก กฤษณ์ สีวะรา และนายทหารอีกกลุ่มหนึ่ง ทำให้พลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ จำเป็นต้องทำการรัฐประหารเสียก่อน เพื่อควบคุมสถานการณ์ทั้งหมด

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาฯ ส่วนหนึ่งเกิดจากการปะทะของมวลชนฝ่ายขวาและแกนนำนักศึกษาฝ่ายซ้าย ซึ่งมีความขัดแย้งกันมาตั้งแต่หลัง 14 ตุลาคม 2516 บวกเข้ากับชนวนเหตุการต่อต้านจอมพลถนอม จนนำไปสู่การชุมนุมประท้วงของนักศึกษาส่วนใหญ่

หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ นักศึกษาบางกลุ่มได้หลบหนีเข้าป่า รวมตัวกับกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเพื่อต่อสู้กับรัฐบาล จนกระทั่งมีการออกคำสั่งที่ 66/23 ในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นคำสั่งนิรโทษกรรมให้กับผู้ก่อการคอมมิวนิสต์ ถือเป็นการสิ้นสุดของกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และดูเหมือนจะเป็นการยุติขบวนการคอมมิวนิสต์ทั้งหมด…

…แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขบวนการเหล่านี้ “ไม่เคยจบสิ้น” และยังคงสานต่อมาสู่การเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบัน

คำสั่ง 66/23 ทำให้กลุ่มนักศึกษาออกจากป่า ซึ่งส่วนใหญ่พวกเขาเหล่านั้นกลับใจ และมุ่งทำประโยชน์ให้บ้านเมือง บางคนกลายเป็นนักธุรกิจ นักพัฒนาชุมชน ฯลฯ

แต่ยังมีแกนนำนักศึกษากลุ่มหนึ่ง ที่ยังหมกมุ่นอยู่กับอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ยังมีความคิดคับแค้นฝังใจกับความพ่ายแพ้ในสงครามการเปลี่ยนแปลงประเทศ และยังคงมีความเชื่อฝังหัวว่าสถาบันพระมหากษัตริย์คืออุปสรรคใหญ่ต่ออุดมการณ์ของพวกเขา บุคคลเหล่านี้ได้กลับมาเป็นทั้งนักวิชาการ เป็นทั้งอาจารย์ และแปรสภาพตัวเองเป็น “คอมมิวนิสต์กลายพันธุ์” เปลี่ยนจากการใช้ “กองกำลังอาวุธ” มาเป็นการใช้ “สื่อ” เพื่อสร้างฐานมวลชนใหม่ พยายามเผยแพร่แนวความคิดเปลี่ยนแปลงประเทศให้กับเด็กรุ่นใหม่ โดยใช้ความเท่าเทียมกันมาอ้าง เพื่อผลักดันเป้าหมายของพวกเขาให้สำเร็จ หลังจากที่ล้มเหลวมาหลายครั้งก่อนหน้า

ดังนั้น สิ่งที่น่าสนใจจริง ๆ ของการเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบันคือ จุดประสงค์ที่พวกนักวิชาการฝ่ายซ้ายต้องการผลักดันคืออะไร? ใช่ประชาธิปไตยแบบที่ทุกคนคุ้นเคย หรือ อำนาจแบบรวมศูนย์ (ไว้ที่กลุ่มตนเอง) อย่างที่พรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตเป็นหรือไม่ และสุดท้ายเรื่องนี้จะจบลงแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับทุกคนแล้ว ว่าจะคิด เลือก หรือตัดสินใจอย่างไร…ทุกอย่างอยู่ในมือของคุณแล้ว

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า