‘ โชคดีที่ไม่สำเร็จ!’ วีรกรรมคณะราษฎรรื้อสร้างชาติใหม่ ความน่าสะพรึงราวกับวรรณกรรม 1984

1984 เป็นวรรณกรรมที่มีการสื่อสารในทางการเมือง โดยเป็นหนังสือที่เกิดขึ้นโดย จอร์จ ออร์เวลล์ ที่มีความกังขาในแนวคิดฝ่ายซ้ายกระแสหลักที่กำลังเบ่งบานในช่วงศตวรรษที่ 20 ในลักษณะของแนวคิดคอมมิวนิสต์แบบสตาลิน ที่เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียตในขณะนั้น หลังจากการเข้าร่วมในสงครามกลางเมืองสเปนในฝ่ายสังคมนิยมและเกิดข้อขัดแย้งในตัวอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ระหว่างแบบสตาลินและทรอสกี้

โดยมีการใช้หนังสือเล่มนี้เป็นคำเตือนสำคัญถึงการใช้อุดมการณ์ทางการเมืองที่ดูสูงส่งในการแสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวและพวกพ้อง และกดทับคนชายขอบที่เหลือในสังคม ในรูปแบบของการใช้เทคโนโลยีในการดัดแปลงข้อมูลให้เป็นอย่างที่ต้องการ การใช้กลไกอำนาจในการควบคุมและกำกับคนในสังคม รวมทั้งมีการสร้างชุดความคิดใหม่เพื่อสามารถควบคุมความคิดในสังคมได้อย่างถาวร ดังที่เกิดขึ้นในวรรณกรรม 1984

และเนื้อความสำคัญจากเรื่องนี้ คือ ความพยายามของรัฐเผด็จการที่มีความเป็นสังคมนิยมแห่งหนึ่งได้ทำการบั่นทอนภาษาให้มีจำนวนคำที่น้อยลงและซับซ้อนน้อยลง ในรูปแบบของภาษาใหม่ หรือนิวสปีช เพื่อให้ขอบเขตการสื่อสารของคนในสังคมแคบลงและสามารถควบคุมความคิดได้ง่ายขึ้นผ่านการบัญญัติภาษาที่จะมีการคิดคำต่าง ๆ ที่เข้าที่เข้าทางกับอุดมการณ์ดังกล่าว เพื่อให้ในที่สุดมนุษย์ก็จะกลายเป็นเป็ดที่พูดได้เท่านั้น

รวมทั้งมีการปลุกระดมในลักษณะของความเกลียดชังที่จะมีการให้รวมตัวกันเพื่อรับฟังข่าวสารที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังต่อศัตรูภายนอกประเทศและศัตรูภายในที่คิดต่างจากแนวคิดสังคมนิยมเบ็ดเสร็จพร้อมแสดงความเกลียดชังต่อศัตรูอุดมการณ์อันสูงส่งออกมาในที่สาธารณะ และมีการสอดส่องข้อมูลที่ขัดต่ออุดมการณ์สังคมนิยมเพื่อเอาไปทำลายหรือดัดแปลงให้เข้ากับความคิดแบบใหม่ในสังคมภาพรวม

ทั้งนี้เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้ เคยเกือบได้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยช่วงยุคคณะราษฎรที่มีความพยายามในการรื้อสร้างโครงสร้างความคิดในทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นก่อน พ.ศ.2475 และพยายามสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อคณะราษฎรในฐานะผู้กุมอำนาจในฐานะผู้สร้างชาติใหม่

ซึ่งการรื้อสร้างดังกล่าว ก็ได้รื้อสร้างทุกอย่างจริง ๆ อย่างในทางวัตถุ ที่มีการสร้างสถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎรโดยใช้รูปแบบที่ดูทันสมัยและสามารถข่มสถาปัตยกรรมในช่วงยุคก่อนหน้าที่ดูล้าหลังในสายตาของผู้มีอำนาจในขณะนั้น รวมทั้งการสร้างสัญลักษณ์ของคณะราษฎรตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศในรูปแบบของหลัก 6 ประการที่จะแฝงไปในโครงสร้างสถาปัตยกรรมของคณะราษฎรเป็นส่วนใหญ่

หรือแม้แต่การรื้อสถาปัตยกรรมแบบเก่าที่เกิดขึ้นก่อนการขึ้นสู่อำนาจของคณะราษฎรเพื่อเอามาสร้างสถาปัตยกรรมในรูปแบบที่ต้องการก็เกิดขึ้นในช่วงนี้ โดยใช้ความทันสมัยตามโลกเป็นเหตุผลสำคัญ

รวมทั้งการรื้อสร้างโครงสร้างความคิดและสร้างชุดความคิดใหม่ อย่างการบัญญัติรัฐนิยม 12 ประการที่เป็นการสร้างแนวทางชุดความคิดใหม่และรื้อถอนชุดความคิดเก่าทิ้งแทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อประเทศสยาม ที่เป็นสัญลักษณ์ของความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เป็นประเทศไทย ที่เป็นตัวแทนเพียงเชื้อชาติเดียว การแกมบังคับให้ประชาชนแต่งตัวแบบสากลเต็มทั้งที่อยู่ในพื้นที่เขตร้อน การใช้กลไกรัฐในการเซ็นเซอร์ข้อมูลที่ไม่เข้ากับชุดความคิดใหม่ของคณะราษฎร

ทว่า ที่เป็นสัญลักษณ์การรื้อสร้างที่ใหญ่ที่สุด คือการลดความซับซ้อนของภาษาผ่านการลดจำนวนพยัญชนะและคำสรรพนามลง ซึ่งใช้ข้ออ้างว่า พยัญชนะที่ลดลงไปนั้นเป็นพยัญชนะที่มีเสียงคล้ายคลึงกันอยู่แล้วและการเอาออกไปจะทำให้การเรียนภาษาไทยนั้นง่ายขึ้น โดยที่จริงแล้วตัวพยัญชนะหลายตัวที่ดูเหมือนจะมีเสียงเดียวกันมีวัตถุประสงค์มาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงการยืมคำจากภาษาต่างถิ่นและสามารถย้อนกลับไปหาความหมายและภาษาดั้งเดิมไว้แม้ว่าจะผ่านไปกี่ร้อยปีก็ตาม

ในขณะที่การลดคำสรรพนามลงนั้นมีจุดประสงค์เพื่อจัดระเบียบการใช้คำสรรพนามที่มีความหลากหลายในสังคมให้อยู่ในแบบแผนเดียวกันและดูเป็นการลดความซับซ้อนของภาษาลง แต่กลับเป็นการสร้างข้อจำกัดในการสื่อสารภาษาออกมา เพราะคำสรรพนามที่หลากหลายในสังคมนั้น เกิดจากความแตกต่างของรายละเอียดการสื่อสารที่เป็นที่มาของการบัญญัติคำนาม คำสรรพนามและคำกิริยาใหม่ ๆ ในสังคมหนึ่ง

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา ได้คล้ายคลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นใน 1984 ทั้งในเรื่องการจำกัดความหลากหลายและการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารผ่านการเซ็นเซอร์สื่อและการใช้กลไกรัฐในการสร้างชุดความคิดที่เป็นประโยชน์ต่ออุดมการณ์ที่ยึดถือไว้ การสร้างชุดความคิดใหม่และตอกย้ำความคิดใหม่ผ่านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมเพื่อกลบเกลื่อนคุณค่าความคิดแบบเดิมอย่างเด็ดขาด รวมทั้งพยายามในการลดทอนขอบเขตการสื่อสารของคนในสังคมลงผ่านใช้กลไกด้านภาษาในการควบคุมคนในสังคมอย่างเด็ดขาด

ยิ่งมองถึงพฤติกรรมความเป็นอำนาจนิยมของคณะราษฎรจากกรณีของการจัดการกับคนเห็นต่างและข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อคณะราษฎรอย่างรุนแรงนั้น ก็เห็นได้ชัดว่า เป็นกลไกที่ออกแบบให้อุดมการณ์ของคณะราษฎรสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยาวนานและมีลักษณะเสมือนคณะผู้สร้างชาติใหม่อย่างชัดเจน

แต่สุดท้ายแล้ว ความพยายามมากมายของคณะราษฎรในการรื้อสร้างอะไรต่าง ๆ ก็ได้ล่มสลายลงอย่างรวดเร็ว จากการเริ่มเสื่อมอำนาจของคณะราษฎรในบริบทของสถานการณ์โลก และสถานการณ์ภายในประเทศที่มีการต่อต้านอิทธิพลคณะราษฎรมาอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงการทยอยเกิดกระแสความคิดในการฟื้นฟูคุณค่ารากเหง้าของชาติครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการกลับมาใช้ระบบพยัญชนะและสรรพนามดังเดิม การย้อนเกล็ดถึงความอำนาจนิยมของคณะราษฎรที่อ้างว่า ตนคือผู้พิทักษ์แห่งระบอบประชาธิปไตยแต่กลับบดขยี้ผู้เห็นต่างกับตนเสียเอง และการฟื้นฟูนั้นก็ได้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 26 หรือ พ.ศ.2500 ผ่านการเกิดขึ้นใหม่ของวัฒนธรรมประเพณีที่หายไปเป็นระยะเวลานาน จนยังคงสามารถรักษาความสมบูรณ์ของประวัติศาสตร์ที่ดำรงมาตั้งแต่โบราณได้มาจนถึงปัจจุบัน

ในอีกทางหนึ่ง การที่มีคนจำนวนมากมองวรรณกรรม 1984 ในฐานะเครื่องมือที่ใช้สนองวัตถุประสงค์ทางการเมืองนั้น ตัวใจความสำคัญของวรรณกรรม 1984 ไม่ได้มองแค่เปลือกนอกของอุดมการณ์ทางการเมืองเพียงเท่านั้น แต่มองถึงเนื้อในของอุดมการณ์ รวมถึงกระบวนการในการรักษาอุดมการณ์ดังกล่าวไว้ด้วย ซึ่งมักแฝงด้วยความเป็นอำนาจนิยมและเผด็จการเบ็ดเสร็จไว้ทั้งนั้น

อย่างไรก็ตามเป็นที่ชัดเจนว่า พฤติกรรมของคณะราษฎรในช่วงเรืองอำนาจ คือ การนำประเทศสู่บริบทตามที่วรรณกรรม 1984 ได้กล่าวไว้เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้อุดมการณ์ในการแสวงหาผลประโยชน์แก่พวกพ้อง การกดทับคนชายขอบในสังคมที่เห็นต่างจากอุดมการณ์ตน และใช้ชุดความคิดใหม่ที่หวังว่าจะรื้อสร้างทุกสิ่ง แต่สุดท้ายก็ล้มเหลวแทบทั้งหมด และได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้ โดยประเทศไทยยังคงรักษารากเหง้าทางความคิดที่สั่งสมมาอย่างยาวนานได้อย่างสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นบทเรียนในประวัติศาสตร์ที่จะยังคงจารึกให้สังคมจดจำได้อีกนาน

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า