คณะราษฎรแสร้งขอขมา รัชกาลที่ 7 เพื่ออำนาจทางการเมือง

ในเหตุการณ์ปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 กลุ่มคณะราษฎรได้ส่งหนังสือกราบบังคมทูลฯ เชิญให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จนิวัติพระนคร ด้วยถ้อยคำที่ข่มขู่คุกคาม และเกือบจะเป็นการ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”

ต่อมาทางคณะราษฎรได้จัดให้มีพิธีขอขมาต่อในหลวงรัชกาลที่ 7 ซึ่งมีหลักฐานยืนยันจากเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยในขณะนั้นว่า เป็นเพียงการแสร้งขอขมาเพื่อไม่ให้สถานการณ์ลุกลามบานปลาย และเป็นการใช้พระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือ เพื่อหวังผลในการสร้างอำนาจต่อไปในอนาคตของคณะราษฎรเท่านั้น

หลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงตอบรับคำร้องขอของคณะราษฎร ให้เสด็จนิวัติพระนคร เพื่อดำรงตำแหน่ง “พระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ” (Constitutional Monarchy) ในช่วงเหตุการณ์ปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

ดูเหมือนทางคณะราษฎรได้แสดงออกถึงความรู้สึกผิดที่ได้กล่าวล่วงเกิน จนถึงกระทั่งหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ ด้วยข้อความรุนแรงและเต็มไปด้วยคำโกหกที่ปรากฏในประกาศคณะราษฎร ซึ่งเขียนขึ้นโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)

รัฐบาลคณะราษฎรจึงได้จัดพิธีขอขมาต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างเป็นทางการที่ได้กระทำการล่วงเกินพระองค์ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยพิธีขอขมาดังกล่าว ได้ถูกจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม  พ.ศ. 2475

ซึ่งเหตุการณ์นี้ มร. โดมเมอร์ (Mr. Dormer) เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยในขณะนั้น ได้ให้ความเห็นว่า เป็นเพียงการแสร้งขอขมา เพื่อให้การรักษาอำนาจของคณะราษฎรนั้นเป็นไปโดยง่าย และเพื่อหวังพึ่งใช้งานพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อไปในอนาคต อีกทั้งได้ให้ข้อมูลว่า “พวกหัวรุนแรง” อย่างคณะราษฎร แท้จริงแล้ว “ไม่เคยได้สำนึก” ใด ๆ เลย

ดังรายงานที่เขาส่งไปถึงกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ความว่า

การฟื้นฟูสัมพันธภาพสมานฉันท์ ระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและคณะราษฎร ข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะกล่าวเป็นการเฉพาะในเรื่องนี้…เมื่อวันก่อนนี้มีประกาศว่า หลวงประดิษฐ์มนูธรรมจะกลับมาจากการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระองค์ได้มีพระราชปฏิสันถารด้วยเป็นเวลาถึง 1 ชั่วโมง…เป็นไปได้ที่หลวงประดิษฐ์ฯ จะกลับมาจากการเข้าเฝ้าด้วยความคิดที่เปลี่ยนไป…แต่ไม่ว่าอย่างไร ข้าพเจ้าไม่สงสัยเลยว่า การกลับมาแสดงความเคารพต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนี้ เป็นดำริของกลุ่มความคิดสุดขั้วมากกว่าจะเป็นดำริของกลุ่มหัวไม่รุนแรง พวกหลังนี้เขลาหรือเขิน (timid) เกินกว่าจะกล้าเสนออะไรแบบนั้น แต่ก็น่าเสียดายที่การยกย่องเชิดชูพระมหากษัตริย์ที่แสดงออกอยู่ขณะนี้ มิได้เป็นจริงเป็นจังเท่าใดนัก หากดูแทบจะเป็นการประจบประแจงสอพลอเกินไปมากกว่า

นี่คือคำกล่าวของเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ที่ได้ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของกลุ่มคณะราษฎร ที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 7 ในห้วงเวลาแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้งยังให้นิยามของกลุ่มคณะราษฎรว่าเป็นพวก “หัวรุนแรง” ที่มีความคิดสุดขั้วอีกด้วย

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แม้แต่ทางอังกฤษเองก็ไม่ได้มีความไว้ใจในรัฐบาลคณะราษฎรแต่อย่างใด และออกจะแสดงความเห็นใจแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียด้วยซ้ำ ที่ทรงต้องเผชิญกับ “การเมืองที่แสนสกปรก” ตลอดจนการข่มขู่คุกคามและแม้กระทั่งการแสร้งขอขมาจากคณะราษฎร ที่มิใช่ทำไปด้วยความรู้สึกผิดจริง หากแต่เป็นเพียงการกระทำเพื่อหวังผลในการใช้พระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือ ในการรักษาอำนาจทางการเมืองของตัวเองเท่านั้น

อ้างอิง :

[F 8272/4260/40] “Mr. Dormer to Sir John Simon”, 27 October 1932.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า