ขบวนการสร้างข้อมูลเท็จ บิดเบือนประวัติศาสตร์ผ่านวิกิพีเดียไทย

มีความพยายามในการกล่าวหาสถาบันฯ ว่าเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองไม่เคยสิ้นสุด หนึ่งในนั้นคือการสร้างข้อมูลเท็จ บิดเบือนประวัติศาสตร์ผ่านวิกิพีเดีย ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญและควรมีการตั้งคำถามกลับไปยังทีมงานผู้ดูแลเว็บวิกิพีเดียไทย

โดยเฉพาะกรณีที่มีการกล่าวหาว่า สมเด็จย่าทรงอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2490

ขบวนการสร้างข้อมูลเท็จ

จากเนื้อหาวิกิพีเดียเรื่อง “สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”

มีการเข้าไปแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลอันเป็นเท็จ กล่าวหาสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ หรือสมเด็จย่า ที่พวกเราคนไทยได้รับรู้ถึงพระราชจริยวัตร ที่ทรงมีพระเมตตาและไม่ทรงประสงค์ที่จะยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ว่าการปฏิวัติของ พลโท ผิน ชุณหะวัณ ซึ่งยึดอำนาจของรัฐบาล พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นพวกของ นายปรีดี พนมยงค์ เมื่อปี 2490 นั้น

สมเด็จย่าทรงอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารยึดอำนาจในครั้งนั้น!

โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความว่า “สำหรับบทบาททางการเมือง (ของสมเด็จย่า) สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ทรงเป็นผู้อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490”

อีกทั้งยังได้อ้างอิงถึงเอกสารดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การเมืองไทยในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม : ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐ พ.ศ. 2491 – 2500, โดย ณัฐพล ใจจริง หน้า 64” อันมีเนื้อความอ้างถึงเอกสารรายงานของสถานทูตเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ

ดังเช่นกรณีที่เคยอ้างรายงานของสถานทูตอเมริกาที่ว่า “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการฯ ทรงถือวิสาสะเข้าร่วมประชุม ครม. เพื่อรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์”

ตีแผ่ความจริง

ถ้าเราดูไทม์ไลน์ตามประวัติศาสตร์ สมเด็จย่าและในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จออกจากประเทศไทยและพำนักในสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่หลังเหตุสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 เมื่อปี พ.ศ. 2489 และเสด็จนิวัตพระนครในปี พ.ศ. 2493

ลองคิดกันดูว่าในสมัยนั้น การติดต่อทางไกลระหว่างประเทศทำได้ยากขนาดไหน การสื่อสารก็คงทำได้แค่ทางเดียวคือ จดหมาย ส่วนการคมนาคมทำได้ทางเดียวคือ ทางเรือ

จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่สมเด็จย่าจะอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร

กลับมาที่วิกิพีเดียไทย

ทีมงานฤๅ ได้เข้าตรวจสอบประวัติการแก้ไขพบว่า มีผู้ใช้ทั่วไป 4 คน เข้าไปลบข้อความที่ให้ร้ายสมเด็จย่าออก แต่มีผู้ดูแล 2 คน แก้กลับคืนทุกครั้ง

ล่าสุด ผู้ดูแลคนเดิมได้แก้ข้อความกลับ หลังจากมีคนเข้าไปลบพร้อมแสดงเหตุผลว่า “ข้ออ้างอิงเลื่อนลอยขาดความน่าเชื่อถือ” ภายใน 7 นาที และได้ lock หน้านี้ไม่ให้คนทั่วไปแก้ไขได้ แม้ว่ามีคนโต้แย้งพร้อมแสดงเหตุผลหลายคน แต่ผู้ดูแลกลับไม่สนใจ และไม่ใช้ช่องทาง discuss [1]

แสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้ผู้ดูแลของวิกิพีเดีย อาจมีส่วนรู้เห็นในการบิดเบือนข้อมูล

ทั้งนี้ข้อตกลงการใช้งานของเว็บไซต์วิกิพีเดียระบุว่า ข้อมูลต่าง ๆ ในวิกิพีเดียไม่อาจรับประกันความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลได้ เพราะเนื้อหาในแต่ละบทความอาจเพิ่งถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือทำลายโดยบุคคลผู้มีความเห็นไม่สอดคล้องกับสถานะองค์ความรู้ปัจจุบันในสาขาที่เกี่ยวข้อง

การกระทำดังกล่าว จึงทำให้ต้องตั้งคำถามกลับไปยังผู้ดูแลเว็บไซต์วิกิพีเดียไทยว่า เป็นความถูกต้องและสมควรแล้วหรือไม่?

โดยปัจจุบัน ข้อความดังกล่าวยังคงเผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์วิกิพีเดียไทย ซึ่งถือเป็นการจงใจส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือน ไม่น่าเชื่อถือ และขาดการตรวจสอบ ชนิดที่เรียกได้ว่าเป็น #อาชญากรวิชาการ ได้เลย [2]

ดังนั้นถ้ามีใครมาบอกเรื่องอะไรเรา แล้วยืนยันว่า “เอามาจากวิกิพีเดียเชียวนะ” ให้ขีดเส้นใต้เอาไว้ก่อนเลยว่า เรื่องนั้นอาจจะไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์

เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นั่นหมายความว่า เนื้อหาในวิกิพีเดียเกิดจากการร่วมเขียนออนไลน์ โดยบุคคลทั่วไปที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือใครก็ได้ที่สมัครสมาชิก สามารถเปลี่ยนแปลงเนื้อหาได้ตลอดเวลา เพียงแค่เรากด “แก้ไขต้นฉบับ” เปลี่ยนหรือเพิ่มข้อมูลลงไป แล้วกด “เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง”

เท่านี้ข้อมูลที่เราแก้ไข ก็จะปรากฏออกไปสู่สายตาชาวโลก โดยไม่ต้องผ่านการคัดกรองใด ๆ ทั้งสิ้น

แถมยังสามารถแก้ไขได้จากทุกอุปกรณ์ ที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ทำได้ทั้งนั้น

และการที่วิกิพีเดียมักเป็นเว็บไซต์ที่โผล่มาในอันดับต้น ๆ ของผลการค้นหา ดังนั้นการอ่านข้อมูลจากสารานุกรมออนไลน์นี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแหล่งอ้างอิง reference ท้ายบทความ และพยายามสาวไปให้ถึงข้อมูลต้นทางให้มากที่สุด รวมไปถึงการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์อื่น ๆ ที่น่าเชื่อถือ เพื่อนำสาระทั้งหมดมาวิเคราะห์ ย่อยสรุปให้เป็นความรู้ที่ “จริง” และ “เชื่อถือได้”

โดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของพวก “อาชญากรทางวิชาการ

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า