รัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ ช่วยให้สถาบันฯ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ตามรูปแบบประเพณีการปกครอง

วิกฤตการณ์แห่งประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทยในปัจจุบัน เกิดจากการพยายามกล่าวหา บิดเบือน ของกลุ่มผู้ไม่หวังดี โดยเฉพาะการมุ่งโจมตีรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นการให้อำนาจแก่พระองค์ เพื่อเข้าแทรกแซงทางการเมือง

สุดท้ายนำไปสู่การด้อยค่า และพยายามแช่แข็งสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ยุติการดำรงอยู่ โดยใช้เหตุผลทางการเมืองมาอ้าง

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การระบุบทบัญญัติไว้อย่างยืดหยุ่นในรัฐธรรมนูญส่วนของพระมหากษัตริย์ มิใช่เป็นการให้พระราชอำนาจทางการเมืองแก่พระองค์ แต่เป็นการช่วยให้สถาบันฯ สามารถปรับตัวและดำรงอยู่ต่อไปได้ ตามวิถีทางที่เหมาะสมแห่งประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

คำว่า “ประเพณีการปกครอง” กับ “รัฐธรรมนูญ” นั้น แทบจะถือได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน และสามารถถอดออกมาเป็นภาษาอังกฤษคำเดียวกัน คือคำว่า “Constitution” แต่หากเราพูดถึง รัฐธรรมนูญ เพียงอย่างเดียวโดด ๆ ก็มักจะนึกถึงรัฐธรรมนูญในลักษณะตัวบทกฎหมายสำคัญที่เป็น “ลายลักษณ์อักษร” (Written Constitution) มีขนาดสั้นหรือยาวแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ

อย่างไรก็ดี ประเพณีการปกครอง ก็ถือเป็นรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน หากแต่มีลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitution) ซึ่งทุก ๆ ประเทศไม่ว่าจะประกาศตัวเองว่าเป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญแบบใดก็ตาม ต่างก็ต้องมีบางส่วนที่เป็นลายลักษณ์อักษร และบางส่วนที่ยังคงไม่เป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ดี

สำหรับประเทศไทย ได้กำหนดรูปแบบของประเพณีการปกครอง ไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่อดีตจนถึงฉบับปัจจุบันว่า เป็น “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

โดยในส่วนของรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2560 หมวด 2 เป็นหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ได้กำหนดบทบัญญัติไว้ 19 มาตรา (มาตรา 6 – 24) ซึ่งรัฐธรรมนูญ 19 มาตรานี้ มีเนื้อหาที่ค่อนข้างสั้นและยืดหยุ่น จนทำให้มีบางฝ่ายนำไปโจมตีว่าเป็นการไม่เหมาะสม หรือบ้างก็ว่าเป็นการให้อำนาจแก่พระมหากษัตริย์มากจนเกินไป

แต่ถ้าหากเรามาพิจารณาตามรายมาตราจะพบว่า สิ่งที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้นี้ คือใจความหรือหัวใจหลักที่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขพึ่งมี หรือจะมีได้โดยไม่ได้ขัดกับประเพณีการปกครอง และไม่ได้ละเมิดสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด

และในบางมาตราที่เขียนชี้ชัดว่าเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่พึงกระทำได้ หากพิจารณาให้ดี จะเห็นว่าเป็นการจัดขอบเขตอำนาจที่ได้สัดส่วนแก่องค์พระมหากษัตริย์แล้ว อาทิ อำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการในพระองค์ในมาตรา 15 ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินทั่วไปแต่อย่างใด จึงไม่ถือว่าพระมหากษัตริย์ละเมิดรัฐธรรมนูญ หรือแทรกแซงทางการเมือง

สำหรับในบางส่วนของรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้อย่างคร่าว ๆ นั้น ก็เพื่อว่าจะได้ไม่เป็นการกำหนดให้ตายตัวจนเกินไป เช่น มาตรา 6 เนื่องจากธรรมชาติสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ไม่ว่าจะของประเทศใดในโลก ล้วนแล้วแต่มีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา และประกอบไปด้วยพระราชวงศ์ที่มีชีวิตจิตใจ หาใช่วัตถุสิ่งของแต่อย่างใด

ดังนั้น การระบุบางเรื่องไว้อย่างยืดหยุ่น จะช่วยทำให้พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สามารถ “ขับเคลื่อน” และ “ดำรงอยู่” ต่อไปได้ โดยไม่ต้องถูกแช่แข็งจากนักทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะพวกที่ร่ำเรียนมาจากประเทศสาธารณรัฐ อาทิ ฝรั่งเศส เยอรมัน และอเมริกา ซึ่งคนเหล่านี้มักมีทัศนคติแง่ลบต่อพระราชอำนาจที่ยังเหลืออยู่ (reserve power) ของพระมหากษัตริย์ เพราะถูกพร่ำสอนจากในตำราว่าอำนาจของพระมหากษัตริย์นั้นเป็นอำนาจที่ชั่วร้าย

แต่ในความเป็นจริง ความคิดเช่นนี้จัดว่าเก่าและล้าสมัยแล้ว เพราะอำนาจที่ชั่วร้ายของพระมหากษัตริย์ในที่นี้ หมายถึงอำนาจของพระมหากษัตริย์ในสมัยศตวรรษที่ 17 – 18 ของทวีปยุโรป ซึ่งปัจจุบันอำนาจของพระมหากษัตริย์เกือบทุกแห่งทั่วโลกรวมทั้งของประเทศไทย ได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ดังนั้น อำนาจของพระมหากษัตริย์จึงไม่ใช่อำนาจอาญาสิทธิราชย์ (Absolute) อีกต่อไป หากแต่เป็นพระราชอำนาจที่ยังเหลืออยู่ (reserve power) ของพระมหากษัตริย์ตามประเพณีการปกครองเท่านั้น

ในประเทศอังกฤษ ประเพณีการปกครองหรือรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนมากยังไม่ได้ถูกระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเท่าของประเทศไทย แต่ปรากฏความชัดเจนขึ้นจากแนวทางที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา หรือธรรมเนียม (tradition/custom) ที่ยึดถือกันมากว่า 800 ปี นับตังแต่ “กฎบัตรใหญ่” หรือ “แมคนาคาร์ตา” (Magna Carta) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ซึ่งพระมหากษัตริย์อังกฤษ ได้ถูกจำกัดให้อยู่ภายใต้กฎหมายเป็นครั้งแรก และค่อย ๆ ปรับตัวอย่างไม่หยุดนิ่งสืบต่อมาอีกหลายร้อยปี จนถึงปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่า การระบุบทบัญญัติไว้อย่างยืดหยุ่นในรัฐธรรมนูญส่วนของพระมหากษัตริย์ มิใช่เพื่อการมุ่งให้อำนาจแก่พระมหากษัตริย์ หากแต่เป็นการช่วยให้สถาบันฯ ปรับตัวและดำรงอยู่ต่อไปได้ ตามวิถีทางที่เหมาะสมตามระบอบประเพณีการปกครอง และการพยายามแช่แข็งพลวัตของสถาบันพระมหากษัตริย์ กลับเป็นการพยายามทำให้คุณค่าของสถาบันฯ ลดน้อยลง เพียงเพราะอคติของคนกลุ่มหนึ่ง

ดังนั้น การปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของพลวัตจึงเป็นวิถีทางที่ดีที่สุด ที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ สามารถหลอมรวมหรือประยุกต์เข้ากับสังคมไทย ได้อย่างที่ไม่ต้องปรากฏสิ่งแปลกปลอมทางการเมืองเจือปน

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า